วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหมาย ISP



ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต”   ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน ประเภท คือ

1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น

2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย

ความหมายและหน้าที่ของ Modem



โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

อุปกรณ์เครือข่าย LAN GARD




แผงวงจรเครือข่าย (LAN CARD) 

           คือแผงวงจรเครือข่ายที่เสียบไว้กับตัวเครื่องและเชื่อมต่อด้วยสายเพื่อต่อเป็นเครือข่ายโดยแผงวงจรเครือข่ายนี้จะมีช่องไว้เสียบหัวชนิด   RJ – 45 ,   BNC , AUI

แผงวงจรเครือข่าย (LAN Card) หรือ Network Interface Card (NIC) มีหน้าที่ดังนี้
          •  Convert สัญญาณจาก Serial เป็น Parallel และ Parallel เป็น Serial
          •  เป็นตัว Buffer ของข้อมูลที่จะส่งและรับ
          •  เป็นผู้จัดสร้าง Packet หรือ Frame ขึ้น
          •  ทำหน้าที่เข้ารหัสและถอดรหัส
          •  ตรวจสอบค่า Address ที่เข้ามาจากผู้ส่ง
          •  ตรวจสอบการชนกันของข้อมูล

สายนำสัญญาณ

สายนำสัญญาณชนิดตีเกลียว (Twisted Pair Cable)
เป็นสายนำสัญญาณที่ได้รับความนิยมใช้งานมากที่สุด ใช้กับทั้งการรับส่งเสียงหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ มีข้อดีในเรื่องของการต้านทานสัญญาณรบกวน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระบบองค์กรต่าง ๆ ทั่วไปมักนิยมติดตั้งโดยใช้สายนำสัญญาณประเภทนี้ โครงสร้างภายในของสายนำสัญญาณประกอบด้วยสายไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นตัวนำทั้งสิ้น 4 คู่ตีเกลียวกันอยู่ภายในฉนวนหุ้ม สายไฟฟ้าแต่ละเส้นจะมีสีที่แตกต่างกันเพื่อสร้างความสะดวกในการจำแนกความแตกต่างให้กับผู้ติดตั้งสายนำสัญญาณชนิดตีเกลียวการผลิตออกสู่ตลาดหลายเกรดสายแต่ละเกรดหรือแต่ละประเภทจะมีขีดความสามารถในการรองรับการสื่อสารที่แตกต่างกัน

แสดงภาพของสายคู่ตีเกลียว

การจัดแบ่งประเภทของสายนำสัญญาณชนิดตีเกลียว
ประเภทของสาย การใช้งาน CAT1 และ CAT2 ใช้รับส่งเสียงและข้อมูลอัตราความเร็วต่ำ
CAT3 ใช้รับส่งเสียงและข้อมูลอัตราความเร็วไม่เกิน 10 เมกะบิตต่อวินาที
CAT4 ใช้รับส่งเสียงและข้อมูลอัตราความเร็วไม่เกิน 16 เมกะบิตต่อวินาที
CAT5 ใช้รับส่งเสียงและข้อมูลอัตราความเร็วไม่เกิน 100 เมกะบิตต่อวินาที
สายนำสัญญาณชนิดตีเกลียวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่สายประเภท CAT3 และ CAT5 การติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้สายนำสัญญาณชนิดตีเกลียวมักอยู่ในรูปแบบการจัดโครงสร้างแบบกระจายหรือแบบดวงดาว (Star Topology) ซึ่งต่างจากในกรณีของสายนำสัญญาณแบบโคแอกเชียลที่จัดโครงสร้างเครือข่ายเป็นแบบบัส (Bus Topology) ทั้งนี้นิยมเชื่อมต่อปลายสายนำสัญญาณแต่ละเช็กเมนต์เข้ากับอุปกรณ์ฮับ หรือ อุปกรณ์สวิตชิงดังรูปเป็นตัวอย่างการติดตั้งใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยสร้างสัญญาณชนิดตีเกลียวแสดงโครงสร้างของสายนำสัญญาณพร้อมกับตำแหน่งขานำสัญญาณบนคอนเน็กเตอร์สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับแผงวงจร NIC บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีของสายนำสัญญาณชนิดตีเกลียวจะใช้ตัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 หรือ RJ11ซึ่งมีลักษณะคล้ายปลั๊กโทรศัพท์โดยมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อระบุตำแหน่งขาและหน้าที่ของสายไฟฟ้า แต่ละเส้นซึ่งมีรายละเอียดการใช้งานและการระบุสีตามมาตรฐานสากลของแต่ละค่ายดังตารางซึ่งควรระวังสำหรับสายสัญญาณประเภทนี้ก็คือ ข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 325 ฟุตหรือประมาณ 100 เมตรซึ่งในกรณีของการติดตั้งเครือข่ายภายในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการระยะการเดินสายที่ยาวมากๆ

ผู้ติดตั้งต้องให้ควรระมัดระวังข้อจำกัดนี้ให้มาก
เพราะอาจส่งผลทำให้ผลที่ถูกส่งผ่านสายนำสัญญาณถูกรบกวนจากสัญญาณรบกวนภายนอกจนไม่สามารถ
ใช้ติดต่อสื่อสารได้

มาตรฐานการจัดวางขาสัญญาณและแถบสีของสายนำสัญญาณชนิดตีเกลียว
ขาเลขที่ การใช้งาน มาตรฐาน AT&T มาตรฐาน EIA มาตรฐาน IEEE
1 + Transmit ขาว/ส้ม ขาว/เขียว ขาว/ส้ม
2 - Transmit ส้ม/ขาว เขียว/ขาว ส้ม/ขาว
3 + Receive ขาว/เขียว ขาว/ส้ม ขาว/เขียว
น้ำเงิน/ขาว น้ำเงิน/ขาว ไม่มีใช้งาน
ขาว/น้ำเงิน ขาว/น้ำเงิน ไม่มีใช้งาน
6 - Receive เขียว/ขาว ส้ม/ขาว เขียว/ขาว
ขาว/น้ำตาล ขาว/น้ำตาล ไม่มีใช้งาน
น้ำตาล/ขาว น้ำตาล/ขาว ไม่มีใช้งาน
เนื่องจากสายคู่ตีเกลียวมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบาและง่ายต่อการติดตั้งจึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น สายเชื่อมจากเครื่องโทรศัพท์ไปสู่ชุมสายโทรศัพท์ ก็มักจะเป็นสายคู่ตีเกลียว ( ในสหรัฐอเมริการวมแล้ว
มีความยาวถึง 1012 กิโลเมตร ) สำหรับสายคู่ตีเกลียวที่นิยมใช้กันในงานเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 2 ชนิดคือ
มาตรฐาน Category 3 ซึ่งเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนพันกันเป็นคู่และในสายเคเบิลเส้นหนึ่งจะบรรจุ
สายคู่ตีเกลียวไว้ 4 คู่ ดังแสดงในรูป(ทำให้สามารถต่อโทรศัพท์ได้ 4 เครื่อง สำหรับอีกชนิดหนึ่งคือ
มาตรฐาน Category 5 ซึ่งคู่สายจะพันกันถี่กว่าแบบ Category 3 และสายทองแดงถูกหุ้มด้วยฉนวนเทฟลอน
(Teflon) ทำให้คลื่นรบกวนจากคู่สายข้างเคียงน้อยมากและคุณภาพของสัญญาณในสายดีจึงใช้ส่งข้อมูลได้สูง
ถึงระดับ 100 Mbps สายคู่ตีเกลียวทั้งสองชนิดนี้ ถูกเรียกทั่วไปว่า สายยูทีพี (UTP, Unshielded Twisted Pair) เพื่อให้แตกต่างกับสายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวนโลหะ(Shielded Twisted Pair) ของไอบีเอ็มที่ใช้ส่งข้อมูล 16 Mbps สำหรับแลนแบบ Token Ring (Token ring)

สายเคเบิลโคแอกเชียว (Co-axial cable)
สายโคแอกเชียลเป็นสายส่งที่มีการใช้งานกันมากไม่ว่าในระบบแลนในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสาย
ของโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวิดีโอสายโคแอกเชียลที่ใช้กันทั่วไปมี 2 ชนิดคือชนิด 50 โอห์มซึ่งใช้ส่ง
ข้อมูลแบบดิจิตอล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอนาล็อก
ดังรูป แสดงส่วนประกอบของสายโคแอกเชียลที่มีฉนวนโลหะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆซึ่งทำให้สายโคแอกเชียลเป็นสายส่งที่มีแบนด์วิดธ์ (Bandwidth: ช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง 500 เมกะเฮิรตซ์จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูงเปรียบได้กับท่อน้ำขนาดกว้างที่สามารถส่งน้ำผ่านท่อได้จำนวนมากสำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายขึ้นอยู่กับความยาวของสายซึ่งสายยาว 1กิโลเมตรอาจจะส่งข้อมูลได้ถึง 1Gbps
(1Bเท่ากับ109) และสามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่านี้ด้วยอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำลง นอกจากนั้นในระบบโทรศัพท์สามารถใช้สายโคแอกเชียลส่งข้อมูลเสียงได้ถึง 10,800 ช่องสัญญาณในช่วงระยะชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างไรก็
ตามปัจจุบันนี้ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นสายเคเบิลของเส้นใยนำแสงซึ่ง
สามารถส่งข้อมูลได้ดีกว่า ปัจจุบันสายโคแอกเชียลยังถูกใช้เป็นสายเคเบิลทีวีและสายเชื่อมโยงของระบบแลนบางชนิด

สายใยนำแสง (Optical fiber)
เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้แสงเป็นตัวกลางในการนำสัญญาณแทนสัญญาณไฟฟ้าโครงสร้างภายในของสายนำสัญญาณแบบไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วที่ถูกม้วนเป็นทรงกระบอก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กมาก (ประมาณ 62.5 ไมครอนการรับส่งสัญญาณจะใช้ลำแสงที่ถูกสร้างขึ้นจากหลอด LED (LightEmittingDiode) ส่องผ่านปลายด้านหนึ่งของสายนำสัญญาณลำแสงจะเกิดการสะท้อนไปตลอดแนวความยาวของสายนำสัญญาณจนกระทั่งไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีไฟเบอร์ออฟติกในปัจจุบันสามารถสร้างสายนำสัญญาณที่สามารถส่งข้อมูลผ่านลำแสงเพียงแสงเดียวหรือที่เรียกว่า Single Mode หรือสามารถส่งข้อมูลหลาย ๆ ชุดแยกผ่านไปบนลำแสงหลาย ๆ ลำ โดยส่งผ่านสายนำสัญญาณเส้นเดียวกันได้ที่เรียกกันว่า Multimode สายนำสัญญาณแบบไฟเบอร์ออฟติกมีขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลในอัตราเร็วที่สูงมาก ๆ ได้ จะเห็นได้ว่าในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามสำนักงานบางแห่งก็เริ่มมีการพิจารณาติดตั้งสายนำสัญญาณประเภทนี้ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์กันบ้างแล้วสัญญาณข้อมูลดิจิตอล (1 และ 0)จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแสงที่มีความเข้มของแสงต่างระดับกัน หรือเป็นแสงสว่าง / มืด เพื่อส่งผ่านเส้นใยนำแสง ซึ่งเป็นท่อแก้วหรือท่อสารซิลิกาหลอมละลาย (fused silica) ที่ถูกหุ้ม (cladding) ด้วยแก้วที่มีคุณสมบัติการ หักเหต่ำ ทำให้แสงไม่ออกไปจากท่อแก้ว ดังแสดงในรูป

แสดงภาพของเส้นใยนำแสง
ระบบการส่งข้อมูลผ่านเส้นใยนำแสงประกอบด้วย 3 ส่วนคือ อุปกรณ์กำเนิดแสง ตัวกลาง และอุปกรณ์ตรวจรับแสง อุปกรณ์กำเนิดแสงเป็น LED (Light Emitting Diode) หรือเลเซอร์ ไดโอด (Laser Diode) ซึ่งจะให้แสงออกมา เมื่อมีกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านอุปกรณ์ตรวจรับแสงเป็นโฟโต้ไดโอด (Photodiode) ซึ่งจะกำเนิดแสงไฟฟ้าเมื่อถูกแสงกระทบส่วนตัวกลางก็เป็นแก้วหรือสารซิลิกาหลอมละลายเมื่อนำเอา LED และโฟโต้ไดโอดไปติดไว้ที่ปลายสองข้างของเส้นใยนำแสงแล้วจะทำให้เกิดระบบการส่งข้อมูลทิศทางเดียวซึ่งรับสัญญาณไฟฟ้าแล้วแปลงเป็นสัญญาณแสงผ่านสายส่งและจะส่งแปลงกลับเป็นสัญญาณไฟฟ้า อีกครั้งที่ปลายทางอีกด้านหนึ่งดังนั้นในการส่งข้อมูล 2 ทิศทางต้องใช้เส้นใยนำแสง 2 สายเส้นใยนำแสงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดตามเทคนิคในการส่งแสงผ่านเส้นใยนำแสงชนิดแรกคือ มัลติโหมดเคเบิล (multimode cable) เส้นใยนำแสงชนิดนี้ แสงจะสะท้อนด้วยมุมต่าง ๆ จนถึงปลายรับสายมีราคาไม่แพงมากนักและมีประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลดีพอสมควรชนิดที่สอง คือ มัลติโหมดเคเบิ้ลที่ฉาบด้วยวัสดุที่มีดัชนีความหักเหหลายระดับ (graded index multimode cable) ทำให้เกิดจุดรวม (focus) ของการสะท้อนของแสงดังแสดงในรูป()ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ดีกว่าแบบแรกแสดงถึงชนิดที่สามคือซิงเกิลโหมดเคเบิล (singlemodecable) ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับความยาวคลื่นแสงทำให้แสงถูกส่งตรงผ่านสายใยนำแสงไปยังปลายทางและทำให้การรับแสงดีขึ้น เส้นใยนำแสงแบบซิงเกิลโหมดนี้มีราคาค่อนข้างแพง แต่ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลสูง สามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลาย Gbps ในระยะทางยาวถึง 30 กิโลเมตร

เทคโนโลยีให้ความเร็วดีกว่าและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก


ADSL (Asynchronous Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มแบบใหม่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นแบบสายคู่ตีเกลียวที่มีอยู่เดิม ให้กลายเป็นเส้นทางเข้าถึงมัลติมีเดียและการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ โดย ADSLสามารถสื่อสารด้วยความเร็วกว่า 6 Mbps ไปยังผู้ใช้บริการ และได้เร็วถึงกว่า 640 Kbps ในสองทิศทาง ซึ่งอัตราความเร็วดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจุของสายโทรศัพท์แบบเดิมได้กว่า 50 เท่า โดยไม่ต้องลงทุนวางสายเคเบิลใหม่

ADSL สามารถแปลงโครงข่ายข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่มีอยู่จากที่เคยจำกัดเพียงการให้บริการด้านเสียง ข้อความ และกราฟิกที่มีรายละเอียดไม่มากนัก ให้กลายเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ได้กับมัลติมีเดีย รวมทั้งการส่งภาพเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบไปยังบ้านเรือนต่าง ๆ ในทศวรรษนี้ได้อย่างแพร่หลายทั่วไป

ADSL จะก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในอีกสิบกว่าปีข้างหน้านี้ เมื่อบรรดาบริษัทโทรศัพท์ต่าง ๆ พากันเข้าสู่ตลาดใหม่ทางด้านการส่งข้าวสารข้อมูลในรูปของภาพและมัลติมีเดียกันมากขึ้น การวางสายเคเบิลเพื่อรองรับการส่งแบนด์กว้าง (Broadband) ใหม่คงต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ลูกค้าตามเป้า
ทว่าความสำเร็จของบริการใหม่เหล่านี้ยังคงต้องอาศัยการทำตลาด ประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นผู้ใช้บริการค่อนข้างมาก และใช้เวลานาน 2-3 ปี การนำเสนอรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ตัวอย่างวิดีโอที่มีให้เลือกดู รีโมท ซีดีรอมCorporate LAN และอินเทอร์เน็ต จนถึงประตูบ้านเรือนและสำนักงานขนาดเล็กนี้ADSL สามารถที่จะทำให้ตลาดเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาได้ และเป็นประโยชน์แก่บริษัทโทรศัพท์ต่าง ๆ ตลอดจนผู้ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องด้วย 

ความสามารถ
วงจร ADSL เกิดขึ้นด้วยการต่อ ADSL modem เข้าที่ปลายแต่ละด้านของคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นสายคู่ตีเกลียว ทำให้เกิดเป็นช่องสื่อสารข้อมูล (Information channel)ขึ้น ช่อง คือช่องสำหรับดาวน์สตรีม (Downstream) ความเร็วสูง ช่องส่งดูเพล็กซ์ (Duplex) ความเร็วปานกลาง และช่องสำหรับให้บริการโทรศัพท์แบบเดิม (POTS)ทั้งนี้ช่องบริการโทรศัพท์แบบเดิมจะถูกแยกออกจากดิจิตอลโมเด็มด้วยฟิลเตอร์ จึงมั่นใจได้ว่าการสนทนาทางโทรศัพท์ตามปกติจะไม่มีการถูกตัดหรือกระทบกระเทือนแต่อย่างใด แม้อุปกรณ์ ADSL จะมีปัญหาหรือขัดข้อง
อนึ่ง ช่องความเร็วสูงนั้นมีอัตราความเร็วตั้งแต่ 1.5-6.1 Mbps ในขณะที่การสื่อสารข้อมูลแบบดูเพล็กซ์อยู่ในช่วงตั้งแต่ 16-40 Kbps และแต่ละช่องสัญญาณสามารถที่จะทำการsubmultiplex ให้เป็นช่องสำหรับการส่งด้วยอัตราความเร็วต่ำ ๆ ได้หลาย ๆ ช่อง ADSL modem รองรับการสื่อสารข้อมูลในอัตราเดียวกันกับ digital hierachies ของอเมริกาเหนือและยุโรป (ดูตารางที่ 1) ผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการที่อัตราความเร็ว และความสามารถต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ทั้งนี้รูปแบบต่ำสุดให้ดาวน์สตรีมได้ 1.5 หรือ 2.0 Mbps และช่องดูเพล็กซ์ 16 Kbps อีกหนึ่งช่อง ส่วนรูปแบบอื่น ๆ ให้บริการได้ในอัตรา 6.1 Mbps และ64 Kbps ดูเพล็กซ์
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถให้ดาวน์สตรีมได้สูงถึง 8 Mbps และดูเพล็กซ์ที่อัตราสูงถึง640 Kbps จำหน่ายในท้องตลาด โดย ADSL modem ใช้ได้กับ ATM Transport ที่มีอัตราความเร็วเปลี่ยนแปลงได้และชดเชย ATM overhead ได้ดีพอ ๆ กับ IP Protocolสำหรับอัตราความเร็วดาวน์สตรีมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่าความยาวของสายทองแดง ขนาดของสายที่ใช้ จำนวนของบริดจ์แทร็พ (bridged trap) และ cross-coupled interface ทั้งนี้การลดทอนในทางสายจะเพิ่มขึ้นตามความยาวของสายและความถี่ และลดลงเมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางของสายลดลง ซึ่งหากไม่พิจารณาถึงบริดจ์แทร็พแล้ว ADSL จะช่วยให้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ตามตารางที่ 2
ค่าที่วัดได้ของแต่ละบริษัทโทรศัพท์นั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ได้ แต่สมรรถนะขนาดนี้ก็สามารถครอบคลุมการใช้งานได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของ loop plant ที่ใช้แล้ว ขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ต้องการ อย่างไรก็ดีผู้ใช้บริการที่อยู่ในระยะทางดังกล่าวนี้ ยังคงอยู่ในวิสัยที่ให้บริการได้ด้วยระบบสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอล (digital loop carriers)หรือ DLC ที่ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง แต่เมื่อมีการนำระบบ DLC มาใช้งานในเชิงพาณิชย์แล้ว บริษัทโทรศัพท์สามารถที่จะสนองความต้องการในการใช้งานได้ในเวลาค่อนข้างสั้น จากการที่เราใช้ประโยชน์จาก ADSL ได้สารพัดอย่าง จึงพอมองเห็นช่องทางที่จะนำ ADSL ไปใช้ในงานเกี่ยวกับวิดีโอที่บีบอัดสัญญาณแบบดิจิตอล (digital compressed video) ทว่าจากการที่สัญญาณเป็นแบบ real time ดิจิตอลวิดีโอจึงไม่สามารถใช้วิธีการควบคุม level errorของ link หรือโครงข่ายแบบที่มักพบใช้กันในระบบสื่อสารข้อมูลทั่ว ๆ ไปได้ เพราะฉะนั้นจึงนำ ADSL modem มาใช้งานร่วมกับ forward error correction บางแบบเพื่อลดการผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากการคัพเพิลสัญญาณรบกวนอย่างต่อเนื่องเข้าไปในทางสาย

เทคโนโลยีADSL เป็นกระบวนการจัดการกับสัญญาณแบบดิจิตอลขั้นสูงและทำการบีบข้อมูลเพื่อส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นสายคู่ตีเกลียวไปยังปลายทาง นอกจากนี้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในส่วนของทรานสฟอร์มเมอร์ อะนาล็อก ฟิลเตอร์ และ A/D Converterโดยทางสายโทรศัพท์ที่มีความยาวมาก ๆ นั้นอาจลดทอนสัญญาณที่ 1 MHz (ซึ่งอยู่นอกแบนด์ที่ ADSL ใช้) มากถึง 90 เดซิเบล ซึ่งผลักดันให้ส่วนที่เป็นอะนาล็อกของ ADSL modem ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะให้ใช้งานได้ในแถบความถี่ที่กว้างมาก สามารถแยกช่องสัญญาณ และมีตัวเลขของสัญญาณรบกวนต่ำ หากมองผิวเผินภายนอกแล้ว ADSL มีลักษณะคล้าย ๆ กับเป็นท่อส่งข้อมูลซิงโครไนซ์ที่มีอัตราความเร็วขนาดต่าง ๆ ไปบนคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา แต่เมื่อมองภายในที่มีการใช้ทรานซิสเตอร์ทำงานแล้ว เป็นเรื่องประหลาดที่มักเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปได้ ในกรณีที่ต้องการให้เกิดเป็นช่องสื่อสัญญาณได้หลาย ๆ ช่องนั้น ADSL modem จะทำการแบ่งแถบความถี่ที่ใช้งานของคู่สายโทรศัพท์ออกไปอีก 1ช่อง มี แบนด์ คือเป็น FDM (Frequency Division Multiplexing) หรือ Echo Cancellationโดย FDM กำหนดให้ใช้แบนด์หนึ่งสำหรับอัพสตรีมข้อมูล และอีกแบนด์หนึ่งสำหรับดาวน์สตรีมจะถูกแบ่งด้วยวิธีการของ TDM (Time Division Multiplexing) เป็นช่องความเร็วสูง 1ช่อง (หรือมากกว่า) และช่องความเร็วต่ำอีก ช่อง (หรือมากกว่า) ส่วนกรณีของอัพสตรีมจะถูกมัลติเพล็กซ์เข้ากับช่องความเร็วต่ำที่สัมพันธ์กัน สำหรับ Echo Cancellation จะกำหนดให้แบนด์อัพสตรีมเกิดการเหลี่ยมกับของดาวน์สตรีม และแยกทั้งสองออกจากกันด้วย local echo cancellation ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่คุ้นเคยกันดีในโมเด็ม V.32 และ V.34ส่วนเทคนิคอื่น ๆ นั้น ADSL จะแยกย่านความถี่ 4 KHz ไว้สำหรับใช้กับบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ปลาย DC ของแบนด์ ADSL ขณะทำการรวบรวม data stream ที่เกิดจากการมัลติเพล็กซ์ช่องดาวน์สตรีม ช่องดูเพล็กซ์ และช่องบำรุงรักษาเข้าเป็นบล็อก ๆ และใส่รหัส Error Correction เข้าแต่ละบล็อก จากนั้นทางด้านรับจะทำการแก้ไขความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงของการสื่อสัญญาณให้อยู่ในระดับที่รับรู้ได้ด้วยรหัส และความยาวของบล็อก นอกจากนี้มันยังอาจจะสร้างบล็อกพิเศษอีก ด้วยการสอด (interleave) ข้อมูลเข้าไปภายในบล็อกย่อย (subblock) ซึ่งทำให้ภาครับสามารถแก้ไขความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เป็นผลทำให้การส่งสัญญาณข้อมูลและภาพเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ ๆ กัน

มาตรฐานและสมาคมที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มทำงาน T1E1.4 ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ให้การรับรองมาตรฐาน ADSL ที่อัตราความเร็วสูงถึง 6.1 Mbps แล้ว (มาตรฐาน ANSI T1.413)
ทางด้านสถาบันมาตรฐานทางเทคนิคแห่งยุโรป (ETSI) ก็ได้ช่วยในการจัดทำภาคผนวกให้กับ T1.413 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความต้องการของประเทศทางยุโรป ปัจจุบัน T1.413 ได้สรุปเรื่องของอินเทอร์เฟส เทอร์มินัลเดียวทางด้านผู้ใช้บริการแล้ว ส่วน Issue II (ซึ่งกลุ่มT1E1.4 กำลังศึกษา) จะมีการขยายมาตรฐานออกไปเพื่อรวมถึงการอินเทอร์เฟสที่มีการมัลติเพล็กซ์กันทางปลายด้านผู้ใช้บริการ โปรโตคอลสำหรับรูปแบบและการบริหารโครงข่าย และการปรับปรุงด้านอื่น ๆ ด้วยสมาคม ATM (ATM Forum) และ DAVIC ก็ให้การรับรองว่า ADSL เป็นโปรโตคอลสื่อสารใน physical layer สำหรับคู่สายตีเกลียวที่ไม่มีชีลด์สมาคมADSL (ADSL Forum) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 เพื่อส่งเสริมแนวความคิดของADSL และช่วยในการพัฒนาโครงสร้างของระบบ ADSL โปรโตคอลและอินเทอร์เฟสสำหรับการใช้ของ ADSL ที่สำคัญ ๆ ปัจจุบันสมาคมมีสมาชิกกว่า 200 ราย จากบรรดาผู้ให้บริการ (SP) ผู้ผลิตอุปกรณ์ และบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ จากทั่วทุกมุมโลก

สถานภาพทางตลาด
ได้มีการทดสอบการใช้งานของ ADSL modem เป็นผลสำเร็จแล้วกว่า 30 บริษัท และมีการทดลองติดตั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ กับคู่สายนับพัน ๆ คู่แล้วในอเมริกาเหนือและยุโรป บริษัทโทรศัพท์จำนวนไม่น้อยได้วางแผนทางการตลาดที่จะทดลองใช้ ADSL โดยส่วนใหญ่มุ่งไปที่การเข้าถึงข้อมูล (data access) แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ใช้งานทางด้านวิดีโอ อินเทอร์แอคทีฟเกม การชอปปิงส่วนตัว และโปรแกรมทางการศึกษาต่าง ๆทางด้านบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์เอง ก็มีการผลิตชุดชิพออกทดลองจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ซึ่งชุดชิพดังกล่าวนั้นรวมถึงอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น โปรแกรมเมเบิล ดิจิตอล ซิกแนล โปรเซสเซอร์ (Programmable digital signal processors) และ Custom ASICS นอกจากนี้บริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ยังมีการลงทุนอีกต่อไป เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงาน และลดจำนวนชิพลง ลดการสิ้นเปลืองกำลัง และทำให้มีราคาถูกลง ซึ่งล้วนแต่ส่งเสริมให้เกิดบริการโดยใช้ ADSL โดยรวมในที่สุด

SDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญ
สองประการคือ
  - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต
  - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว
เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย ปี (หรือมากกว่านี้) จึง จะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้ และยังเหลืออีกมากมายที่มีการเริ่มพัฒนากันและพัฒนาอุปกรณ์ให้ สามารถใช้งานตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

HDSL
           ใช้ในการเชื่อมต่อสถานีสายอากาศระบบเซลลูล่า,PBX,เซิร์ฟเวอร์ของอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายข้อมูลส่วนตัว เทคโนโลยี HDSL (High-Data-Rate Digital Subscriber Line) มีความ
สามารถในการ มอดูเลตขั้นสูงที่ทำให้ส่งข้อมูลได้ความเร็วสูง และความต้องการใช้รีพีตเตอร์ลดจำนวนลงการใช้ HDSL จำนวน เส้นจะได้ความเร็วที่เท่ากับสายของT1 (1.544 Mbps) ในระยะทาง 12,000 ฟุตและ สามารถให้ความเร็วเทียบเท่า E1โดยการใช้ HDSL จำนวน เส้น เทคโนโลยี HDSL เป็นการสื่อสาร แบบสมมาตรที่การรับ/ส่งข้อมูลในอัตราที่เท่ากันทั้งสองทิศทาง 13. ADSL ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) พัฒนาขึ้นต่อจาก HDSL เพื่อใช้ในงานที่ต้องการ โหลดของข้อมูลแบบไม่มาตรา เช่น การใช้บนอินเทอร์เนตการติดตั้งเครือข่าย LAN จากระยะไกลวิดีโอตามประสงค์ และอื่นๆ เทคโนโลยี ADSL รองรับช่วงความเร็วตั้งแต่ 1.5 Mbps ไปจนถึง 9 Mbps ในทิศทางขาลง (จากเครือข่ายไปยังผู้ใช้บริการ) ส่วนในทางขาขึ้นความเร็วอาจผันแปรอยู่ในช่วง 16 Kbps ไปจนถึง 640 Kbpsเทคโนโลยีนี้มีข้อดีเหนือกว่าเทคโนโลยี ISDN ในเรื่องพลังงานไฟฟ้าเพราะ ใช้สายโทรศัพท์ท้องถิ่นจึงยังคงทำงานต่อไปได้แม้ไฟจะดับ เทคโนโลยี ADSL ได้รับการกำหนด มาตรฐานโดย ANSI และ ETSI (European Telecommunications Standards Institute) ในการใช้งาน ADSL บางแห่งนั้นมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า CAP (Carrierless Amplitude/Phase) เพื่อมอดูเลตสัญญาณ ในสาย ดังที่ชื่อได้แจ้งไว้ เทคนิคนี้จะทำการลดสัญญาณพาหะบนสายก่อนที่จะส่งออกไป แม้ว่าวิธีการ นี้จะดูง่ายค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ความสามารถในการรองรับความเร็วจะเท่ากับสาย T1เท่านั้นและยังมีปัญหา จากการถูกรบกวนได้โดยง่ายอีกด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้รับอนุมัติให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ADSL ทั้ง โดย ANSI และ ETSI การมอดูเลตอีกวิธีหนึ่งของ ADSL คือ DMT (Discrete Multitone) วิธีการนี้แบ่ง ความถี่ที่มีอยู่ออกเป็น256 ช่องขนาดเล็กที่ไม่ทับกัน แต่ละช่องสัญญาณขนส่งชุดข้อมูลได้ขนาดต่างกัน ไป ทั้งนี้ในช่วงความถี่ที่สูงเป็นช่วงที่มีโอกาสถูกสัญญาณรบกวนได้ง่ายกว่าจึงขนส่งข้อมูลได้น้อยที่สุด วิธีการนี้ได้รับการรับรองเป็นมาตรฐานทั้ง ANSI และETSI ที่มีความสามารถทำความเร็วได้สูงกว่าระบบ

VDSL
            เป็นเทคโนโลยี DSL ที่เร็วที่สุด ให้ความเร็วที่อัตรา 13-52 Mbps ในขาลง และ 1.5-2.3 Mbps ใน ขาขึ้นทำงานบนสายทองแดงที่ความยาวสาย 1,000-4,500ฟุต เทคโนโลยี VDSL(Very-High-Data-Rate Digital Subscriber Line) นี้คงเป็นเทคโนโลยีที่ดูจะห่างไกลที่สุดที่จะนำมาทำเป็นมาตรฐาน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร



ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Mail หรือที่เราเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า E-mail ซึ่งเป็นการรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทาให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทาให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็วและรู้สึกเพลิดเพลินกับการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วทุกมุมโลก จะสั้นหรือยาว การรับส่งอีเมล์ในระบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างถูกต้องได้นั้นจะต้องอาศัยที่อยู่ของทั้งผู้ส่งและผู้รับที่เรียกว่า “อีเมล์แอดเดรส (E-Mail Address)” เป็นตัวอ้างอิง อีเมล์แอดเดรสนี้เป็นชื่อเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน ภายในชื่อนี้จะระบุว่าเป็นอีเมล์ของผู้ใช้รายใด ส่งมาจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งใด เช่น webmaster@moe.go.thหมายถึงผู้ใช้ที่มีรหัสว่า webmaster จากระบบเครือข่าย moe.go.thจากชื่อของอีเมล์นี้ก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นจดหมายของ ผู้ใด ส่งมาจากที่ใดหรือประเทศใด เหมือนกับการส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป
ประวัติความเป็นมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์เริ่มมีขึ้นในปี ค.. 1971 โดยนาย Roy Tomilisonเป็นผู้คิดค้นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบของอีเมล์ขึ้นมาได้เป็นคนแรก ซึ่งขณะนั้นทางานอยู่ที่ Bolt Beranek and Newman(BBN) โดยที่เขาคงไม่คาดคิดว่าการรับส่งอีเมล์จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ไปจากเดิมเป็นอันมากเช่นในปัจจุบัน ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว บรรดาวิศวกรของ BNN สามารถส่งข้อความไปยังคนอื่นๆ ได้ โดยข้อความที่ส่งออกไปนั้นจะถูกเก็บไว้ใน Mailbox ของผู้รับ แต่ดูเหมือนว่าประโยชน์การใช้งานนั้นยังมีไม่มากนักเพราะข้อจากัดในการใช้งาน ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่งข้อความและใช้ในการเปิดอ่านจาก Mailbox นั้นจะต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
กระบวนการทางานของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนในการรับ-ส่งอีเมล์นั้น ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีอีเมล์แอดเดรส หรืออาจจะเข้าใจง่าย ๆว่า “ตู้ไปรษณีย์” เพื่อใช้ในการรับ-ส่งเริ่มต้นจากการที่ผู้ส่งเขียนอีเมล์ จากนั้นระบุอีเมล์ของผู้รับและทาการกดปุ่มส่งอีเมล์ โปรแกรมก็จะทาการติดต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ผู้ส่งใช้บริการอยู่ โดยตัวควบคุมก็จะค้นหาที่อยู่เครื่องแม่ข่ายของผู้รับ แล้วทำการติดต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายของผู้รับ ซึ่งเมื่อเครื่องแม่ข่ายของผู้รับได้รับอีเมล์ก็จะทาการจัดเก็บอีเมล์ฉบับนี้ไว้ในกล่องรับอีเมล์ของผู้รับ (Inbox) โดยในการส่งอีเมล์นี้จะกระทาผ่านโปรโตคอลที่เรียกว่า“SMTP”
อีเมล์แอดเดรส ( E-mail address)
E-mail address หมายถึง ที่อยู่ของผู้ร้องขอใช้บริการอีเมล์ไม่ว่าจะเป็นผู้รับหรือผู้ส่ง โดย การส่งจดหมายผ่านอินเตอร์เนตนั้น มีรูปแบบดังนี้

ชื่อล็อคอินหรือชื่อเรียกเข้า @ องค์กรที่ให้บริการ
ชื่อล็อคอินหรือชื่อเรียกเข้า หมายถึง ชื่อหรือสัญลักษณ์ที่ผู้ขอใช้บริการอีเมล์ตั้งขึ้นแทนตัวเอง อาจเป็นชื่อย่อ หรือรหัสแทน โดยจะต้องไม่ซ้ากับคนอื่นในเครือข่ายที่ให้บริการนั้น ๆ อ่านว่า แอ็ท แปลว่า อยู่ที่ ใช้คั้นระหว่างชื่อล็อคอินกับชื่อองค์กรที่ให้บริการ
องค์การที่ให้บริการ หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์โดยการลงทะเบียนสมัครสมาชิก หรือองค์กรที่สังกัดอยู่
เช่น webmaster@yahoo.com
webmaster คือ ชื่อที่ผู้ขอใช้กาหนดขึ้น โดยการให้บริการของwww.yahoo.com
reddevil คือ ชื่อที่ผู้ขอใช้กาหนดขึ้น โดยการให้บริการของww.redarmyfc.com เป็นต้น
ประเภทของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในปัจจุบัน
อีเมล์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คือ อีเมล์ที่มีแถมมาให้ควบคู่กับการสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเป็นการให้บริการกับลูกค้าที่สมัครใช้บริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าของสินค้า และเป็นอีกช่องทางในการที่จะโฆษณาการให้บริการ และจัดส่งข้อมูลข่าวสารไปถึงสมาชิกที่สมัครใช้เลือกText Size ซึ่งสามารถเลือกได้ 5 ระดับตัวอักษร คือ Largest Larger Medium Smaller และ Smallestบริการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อสมัครแล้วทางศูนย์จะให้อีเมล์แอดเดรสกับสมาชิก เช่น ploy241@ksc.netซึ่งก็คืออีเมล์ที่บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต KSC แจกให้กับสมาชิก เป็นต้น
อีเมล์จากหน่วยงาน คือ อีเมล์ที่องค์กรออกให้เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรได้ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ จะได้รับอีเมล์แอดเดรสของตนเองจากการสมัครหรือกาหนดให้จากผู้ดูแลระบบ อาทิ เช่นploy221@kku.ac.th คือ อีเมล์ของบุคลากรที่ชื่อ พลอยซึ่งเป็นสมาชิกในหน่วยงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น
อีเมล์ฟรีจากเว็บไซต์ คือ อีเมล์ที่มีเว็บไซต์เปิดให้บริการรับ-ส่งอีเมล์ หรือทาหน้าที่เป็นตู้รับฝาก-ส่งจดหมายบนอินเทอร์เน็ตฟรี ซึ่งอีเมล์ฟรีเหล่านี้พบได้จากเว็บไซต์ชื่อดังมากมายบนอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบการให้บริการเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล บริการให้พื้นที่ฟรีสาหรับการสร้างเว็บไซต์ และให้บริการอีเมล์ฟรีโดยตรง จุดประสงค์หลักเพื่อเรียกให้คนเข้ามาใช้บริการในจานวนมาก ๆ ซึ่งเมื่อคนเข้ามาชมและใช้บริการมาก จะทาให้เว็บไซต์นั้น ๆ ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ เช่น จากการโฆษณาที่ลงโฆษณาผ่านเว็บนั้น
รูปแบบของการบริการฟรีอีเมล์
การให้บริการฟรีอีเมล์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
Web Based E-mail เป็นอีเมล์ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ในเครื่องเชิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ดังนั้นทุกครั้งที่ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านหรือส่งอีเมล์จาเป็นจะต้องเปิดเว็บพร้อมกรอกชื่อและรหัสผู้ใช้ก่อนเข้าไปใช้บริการ และผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบจากเครื่องใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Pop Mail เป็นอีเมล์ที่สนับสนุนให้สามารถเรียกมาเปิดอ่านผ่านโปรแกรมรับส่งอีเมล์บนเครื่องของผู้ใช้ แต่เมื่อผู้ใช้ได้เปิดอ่านอีเมล์แล้ว โปรแกรมจะโหลดอีเมล์มาไว้บนเครื่องของผู้ใช้ พร้อมกับลบต้นฉบับบนเซิร์ฟเวอร์ทิ้งไป
Imap Mail เป็นอีเมล์ที่คลายกับ Pop Mail ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมโหลดอีเมล์ มาเปิดอ่านที่เครื่องของผู้ใช้ได้ แต่เหนือกว่านั้นคือ ผู้ใช้สามารถเห็นหัวข้ออีเมล์ก่อนที่จะโหลดข้อความ และถูกถ่ายโอนข้อมูลถึงกันทันทีหลัง จากมีการเลือกเปิดอ่านอีเมล์ที่ต้องการ
มารยาทในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
มารยาทที่ควรต้องจาในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
1. การขึ้นต้นและลงท้ายให้เหมาะสม ก็เหมือนกับหลักการเขียนจดหมายโดยทั่ว ๆ ไป ควร ข้อความที่สุภาพ เพราะการติดต่อกันในครั้งแรกนั้น ถือว่าสาคัญ เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจ แก่กัน
2. เนื้อหาในตัวจดหมายต้องเป็นข้อความที่สุภาพเรียบร้อย ไม่พาดพิงเพื่อให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ส่งต้องรับผิดชอบในเนื้อหาเหล่านั้น เพราะสามารถเผยแพร่ไปยังบุคคลอื่นๆ ได้
3. งดการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในการเขียนตลอดประโยค (ในกรณีภาษาอังกฤษเพราะมันแสดงถึงการที่คุณกาลังตะโกนใส่เขา
4. ไม่ควรส่งจดหมายขยะ (Junk Mail) หรือจดหมายลูกโซ่แก่บุคคลอื่น เพราะจะสร้างความราคาญให้แก่ผู้รับ และในบางครั้งเมล์เหล่านั้นอาจมีไวรัสปะปนไปด้วย
5. เมื่อต้องการแนบไฟล์หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบไปพร้อมกันเมล์ ควรย่อไฟล์ก่อนส่งไปพร้อมจดหมาย เพราะไฟล์ที่จะส่งไปพร้อมกับจดหมาย (attachment) ขนาดโตๆ จะทาให้ผู้รับปลายทางต้องรอดาวน์โหลดข้อมูล การที่เราส่งไฟล์ก้อนโตๆ ไปให้เขานั้น เท่ากับเป็นการปิดกั้นเมลล์อื่นๆ ที่จะถูกคนอื่น ๆ ส่งไปหาเขา เพราะถ้าตู้เก็บจดหมายของเขาเต็ม เขาก็ไม่สามารถรับอีเมล์ฉบับอื่นๆ ได้อีก

โทรสาร หรือ โทรภาพ (อังกฤษfacsimile, fax แฟกซ์)

 คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopier ในอุตสาหกรรมบางประเภท การส่งสำเนาเอกสารจากระยะไกลไปยังบุคคลหนึ่ง ข้อดีคือรวดเร็วกว่าการส่งทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียคือเอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป ปัจจุบันโทรสารได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากนิยมส่งเอกสารทางอีเมลแทน ซึ่งจะไม่เกิดข้อเสียดังกล่าว
facsimile มาจากภาษาละติน fac simile แปลว่า การทำให้เหมือนกัน หรือการทำสำเนา บางครั้งในภาษาอังกฤษมีการใช้คำว่า telefacimileหรือ telefax หมายถึง การทำสำเนาระยะไกล
พจนานุกรมคำใหม่ของราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้สามารถเขียนทับศัพท์คำว่า "fax" เป็นภาษาไทยได้ทั้ง "แฟกซ์" ตามความนิยม และ "แฝ็กซ์" ตามเสียงอ่าน

Voice mail

คือระบบการรับฝากข้อความเสียงของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ เมื่อผู้โทรเข้าไม่สามาถติดต่อปลายทางได้ ก็สามารถฝากเสียงพูดของตนลงในระบบ แล้วระบบจะได้แจ้งให้หมายเลขปลายทางทราบต่อไปว่ามีผู้ที่ติดต่อเข้ามาแล้วได้ฝากข้อความเสียงไว้ และสามารถเข้าไปฟังข้อความเสียงดังกล่าวได้

การประชุมทางไกล (Videoconferencing) 
เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลาลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน
ความหมาย
การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์และ
ระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง
สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพเสียงและข้อความ กราฟิก
ต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆเพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อ
สนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ
ความสำคัญ 
Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อ
กันได้ทั้งภาพและเสียงโดยผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของตัวเองและภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพ
ของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบ
ประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์
ลำโพงไมโครโฟนกล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้า
รหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน
ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัส
สัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือสามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง
การติดตั้งระบบ Video Conference
ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้
มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ 
share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน
เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ 
Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้นงานประชุมหรืองานการเรียน
การสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากร
ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Groupware คือ ซอฟแวร์ที่สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มของคนที่มีการทำงานคล้ายกัน หรือมีเป้าหมาย
และความร่วมมือเดียวกันค่ะ  เป็นซอร์ฟแวร์แห่งความร่วมมือที่ช่วยให้ทีมและกลุ่มทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายในการ
ติดต่อสื่อสารและ
Shareข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานร่วมกัน


Electronic Fund Transfer
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT) จะฝากเงินรายได้จาก AdSense ไว้ในบัญชีธนาคารของคุณในสกุลเงิน
ท้องถิ่นโดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วและทำให้กระบวนการชำระเงินง่ายยิ่งขึ้น 
EFT มีให้บริการสำหรับผู้เผยแพร่โฆษณาที่มีที่อยู่การชำระเงินใน ประเทศที่สนับสนุนของเรา หาก EFT มีให้บริการในพื้นที่ของคุณ เราขอแนะนำให้คุณลงชื่อสมัคร
ใช้ 
EFT นั้นรวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นวิธีการชำระเงินที่ Google แนะนำอีกด้วย เรากำลังเร่งขยายพื้นที่ให้บริการ EFT ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ หากต้องการลงชื่อสมัครใช้การชำระเงินด้วย EFT คุณจำเป็นต้องระบุ
รายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคารและยืนยันบัญชีของคุณโดยใช้เงินฝากทดสอบจำนวนเล็กน้อย

Electronic Data Interchange
 เทคโนโลยียุคดิจิตอลก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง การทำธุรกิจในปัจจุบันจึงมีความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัว
มากขึ้น โดยมีการนำระบบ 
EDI หรือ Electronic Data Interchange มาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ในรูปของเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน องค์กร และบริษัทธุรกิจต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ
ค่ะ
การจัดทำเอกสารในขั้นแรกของระบบ EDI จะดำเนินไปโดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่มีแรงงานคนเข้ามาเกี่ยว
ข้อง ต่อจากนั้นคอมพิวเตอร์จะส่งเอกสารดังกล่าวไปบันทึกเก็บไว้ในตู้ไปรษณีย์ของบริษัทผู้ให้บริการ 
EDI เพื่อให้บริษัทหรือหน่วยงานเป้าหมายมาเปิดตู้นำเอกสารไปดำเนินการต่อโดยอัตโนมัติ และเมื่อเอกสารเดินทางมาถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทเป้าหมายแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำเอกสารนั้นมาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องทันทีโดยอัตโนมัติเช่นกันค่ะ
นอกจากนี้ระบบ EDI ยังถูกนำไปใช้กับโครงการโทรคมนาคมของประเทศต่างๆ เพื่อเป็น หลักฐานและข้อมูลสำหรับใช้
ในการขนส่งสินค้าและบันทึกข้อมูลการเดินทางของนักท่องเที่ยวด้วยค่ะ

RFID (Radio Frequency Identification)
ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless)
ะบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) 
และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง "Identity" กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้