วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต





โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ 
IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะNetwork Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข ส่วน คือ 
1.             Network Address?
2.             Computer Address

Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่น ITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน ส่วนประกอบใหญ่ๆ สามส่วนคือ ชื่อเครื่อง. เช่น DomainAtCost.com ,ThaiCompany.net ฯลฯ ในปัจจุบันได้มีการจดชื่อโดเมนถึงกว่า 30 ล้านชื่อทั่วโลกและ ชื่อโดเมนก็มักจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของWebsite ต่างๆ ด้วย
domain name คือ  ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้ 
เว็บเพจ (webpage) หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งานโดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอพเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย 
โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์และ ซาฟารี เป็นต้น 
โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash 
โฮมเพจ คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ เปรียบเสมือนหน้าบ้านของเรานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเข้าเว็บไซต์ด้วยชื่อ www.faodoo.com ท่านก็จะเห็นหน้าแรก หรือ โฮมเพจ ทันที ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายละเอียดโดยรวมเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆ และไฟล์ที่ใช้แสดงหน้าโฮมเพจ โดยปกติจะตั้งชื่อเป็น index.html

bandwidth  ของการส่งผ่านสัญญาณสื่อสารเป็นการวัดช่วงความถี่ ที่สัญญาณใช้งาน คำนี้สามารถใช้อ้างถึงคุณลักษณะการตอบสนองความถี่ ของระบบรับการสื่อสาร ของสัญญาณทุกประเภท คือ ทั้งแบบ อะนาล็อก และ ดิจิตอล ในความหมายทั่วไป bandwidth เป็นสัดส่วนโดยตรงของจำนวนข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่าน หรือรับต่อหน่วยเวลา ในความหมายเชิงคุณภาพ bandwidth เป็นสัดส่วนของความซับซ้อนของข้อมูล สำหรับการทำงานของระบบที่รองรับได้ เช่น การ download ไฟล์ทุกประเภทรูปภาพในหนึ่งวินาทีใช้ bandwidth มากกว่าการ download ข้อความในเวลาหนึ่งวินาที ไฟล์ประเภทเสียงขนาดใหญ่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาพเคลื่อนไหวต้องใช้ bandwidth มาก การนำเสนอแบบ Virtual reality (VR) และ ภาพแบบ มิติ ชนิด Full-length ใช้ bandwidth มากที่สุด ในระบบดิจิตอล bandwidth คือความเร็วข้อมูลเป็น bits per second (จำนวนบิตต่อวินาที) ดังนั้นโมเด็มซึ่งทำงานที่ 57,600 bps จะมีbandwidth เป็น เท่าของ โมเด็ม ซึ่งทำงานที่ 28,800 bps ในในระบบอะนาล็อก ความหมายของbandwidth หมายถึงความแตกต่างระหว่างความถี่สูงสุดและต่ำสุดของสัญญาณ มีหน่วยวัดเป็น hertzสัญญาณเสียงมี bandwidth ประมาณ 33 kilohertz(33 KHz) และการกระจายภาพของโทรทัศน์แบบอะนาล็อก ใช้สัญญาณวิดีโอ ซึ่งมี bandwidth ประมาณ 6 megahertz (6 MHz) 
HTML  คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดยHypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกัน ผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ ลงบนเอกสารที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน cyberspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง HTML เริ่มขึ้นเมื่อ ปี 1990 เพื่อตอบสนองความต้องการในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของนักวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก โดย Tim Berners-Lee นักพัฒนาของ CERN ได้พัฒนาภาษาที่มีรากฐานมาจาก SGML ซึ่งเป็นภาษาที่ซับซ้อนและยากต่อการเรียนรู้ จนมาเป็นภาษาที่ใช้ได้ง่ายและสะดวกในการแลกเปลี่ยนเอกสารทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเชื่อมโยงกันด้วยลิ้งในหน้าเอกสาร เมื่อ World Wide Webเป็นที่แแพร่หลาย HTML จึงถูกนำมาใช้จนเกิดการแพร่หลายออกไปยังทั่วโลก จากความง่ายดายในการใช้งาน HTML ในปัจจุบันพัฒนามาจนถึง HTML 4.01 และ HTML 5 กำลังจะออกมาในเร็วนี้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาไปเป็น XHTML ซึ่ง คือ Extended HTML ซึ่งมีความสามารถและมาตรฐานที่รัดกุมกว่าอีกด้วย โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของ W3C (World Wide Web Consortium) 
URL (ยูอาร์แอล) ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต" ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต เมื่อก่อนเราใช้ใช้ตัวเลขหลายหลักในการแทนชื่อเว็บไซต์ ทำให้เวลาจำแล้วกรอกตัวเลขในช่อง URL (ยูอาร์แอล) จำผิดกันมาก  เลยมีผู้คิดค้นสัญลักษ์แทนตัวเลข  จึงเป็นที่มาของชื่อโดเมนเนม นั่นเอง  โดเมนเนม โฮสติ้ง คืออะไรตามต่อที่ ลิงค์ 
ISP  คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งบางครั้งเรียก ISPs ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน-ผู้เขียน) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย งานหลักของ ISP ISP : Internet Service Provider คือ บริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่านISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก รวมถึงค่าบริการก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึง โดยหลักการพิจารณา ISP นั้น เราต้องดูว่า ISP มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยังISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด หน้าที่โดยทั่วไปของ ISP ก็อย่างที่บอกแต่แรกว่าคำว่าISP มีหลายความหมาย หลายบทบาท ซึ่งแต่ละบทบาทนั้นความรับผิดก็จะแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เนตโดยจะรวมไปถึงบริการWebhosting ซึ่งหมายถึง บริการให้เช่าพื้นที่ Website และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล Webboard สาธารณะ โดยอาจรวมถึง Webmaster ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บด้วย หน้าที่หลักๆของ ISPก็คือ การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต การดูแล Website การตรวจสอบข้อมูลที่จะผ่านออกไปลงในเว็บ 
ตัวอย่างผู้ให้บริการ
CAT Telecom Public Co., Ltd.
บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 
เลขที่ 72 ชั้น 13,24 อาคาร กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 
ถ.เจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม.10501 
http://www.cat.net.thhttp://www.cat.net.th/contact/contact_us.htmlhttp://www.cattelecom.com
โทร. 0-2614-2372, 0-2614-2374, 0-2237-4300-1
อีเมล์ 
admin-thix@cat.net.th
 
(Hypertext) หมายถึง ข้อความ หรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยมีการนำเสนอ 
แบบปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ด้วยการนำข้อความที่ใช้มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะปรากฏในลักษณะที่เด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเลือก เป็นต้นในยุกแรกที่มีการนำไฮเปอร์ลิ้งค์เข้ามาใช้ในคอมพิวเตอร์ ที่เห็นได้เด่นชัด ได้แก่ ข้อความในระบบช่วยเหลือของโปรแกรมต่างๆ ซึ่งรูปแบบของระบบช่วยเหลือจะเริ่มด้วยการแสดงหัวข้อของการช่วยเหลือทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้เป็นผู้เลือกว่าต้องการความช่วยเหลืออย่างไรโดยใช้เมาส์คลิกที่หัวข้อนั้นๆจากหัวข้อที่ถูกเลือกจะถูกเชื่อมโยงไปยังรายละเอียดภายในที่ได้ตระเตรียมไว้แล้ว 
แสดงผลออกมาทางหน้าจอในรูปของข้อความซึ่งภายในข้อความเหล่านี้อาจจะมีบางข้อความที่สำคัญได้ถูกเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาอื่นอีก โดยการนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดนี้เป็นไปในรูปแบบของตัวอักษรทั้งสิ้น จึงเรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (HyperText)”ในระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System) ได้นำหลักการของไฮเปอร์เท็กซ์มาเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอจากเดิมที่มีการเชื่อมโยงเฉพาะข้อความหรือตัวอักษรเท่านั้น มาเป็นการเชื่อมโยงโดย ใช้ภาพนิ่ง เสียง และวีดีโอ โดยเรียกกันโดยทั่วไปว่

Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   “ เว็บ “  (   Web )  ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  เว็บเพจ”  ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ
เว็บไซต์  หมายถึง   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นโกดังหรือแหล่งเก็บเว็บเพจต่าง ๆ  ที่มีการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต   ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์ที่เก็บเว็บเพจนั้น ปัจจุบันหน่วยงานต่าง  ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน   รวมทั้งองค์กรอิสระต่างๆให้ความสนใจในการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง   เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศ   ข้อมูลและข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลภายในองค์กรของตัวเอง
URL  คือ  ตำแหน่งที่เก็บเว็บเพจ   ดังนั้นเมื่อต้องการเปิดเว็บเพจที่ต้องการจะต้องระบุตำแหน่งที่ต้องการ    จะต้องระบุตำแหน่งของเว็บเพจนั้น  ๆ  ซึ่งเรียกว่า  URL ( Uniform   Resource  Location  )
การอ่านข้อมูลจากเว็บบราวเซอร์ 
Web Browser    ทุกชนิดจะทำงานโดยการอ่านข้อมูลจาก   Web Server   ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้ง Web Browser 

w=world  = โลก
w=wide   = กว้างขวาง แพร่หลาย
w=web    = โครงข่าย ใยแมงมุม
รวมๆน่าจะหมายถึง ระบบเชื่อมโยงเป็นแบบโครงข่าย ใยแมงมุมและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั่วโลก สากลบ้านเรามีคนพูดบ่อยๆว่าเป็น ระ ดับ เวิลด์ วายด์ นั้นดีที่สุด(ก็ระดับโลกธรรมดานี้เอง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น