วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีให้ความเร็วดีกว่าและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก


ADSL (Asynchronous Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มแบบใหม่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นแบบสายคู่ตีเกลียวที่มีอยู่เดิม ให้กลายเป็นเส้นทางเข้าถึงมัลติมีเดียและการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ โดย ADSLสามารถสื่อสารด้วยความเร็วกว่า 6 Mbps ไปยังผู้ใช้บริการ และได้เร็วถึงกว่า 640 Kbps ในสองทิศทาง ซึ่งอัตราความเร็วดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจุของสายโทรศัพท์แบบเดิมได้กว่า 50 เท่า โดยไม่ต้องลงทุนวางสายเคเบิลใหม่

ADSL สามารถแปลงโครงข่ายข้อมูลข่าวสารพื้นฐานที่มีอยู่จากที่เคยจำกัดเพียงการให้บริการด้านเสียง ข้อความ และกราฟิกที่มีรายละเอียดไม่มากนัก ให้กลายเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ได้กับมัลติมีเดีย รวมทั้งการส่งภาพเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบไปยังบ้านเรือนต่าง ๆ ในทศวรรษนี้ได้อย่างแพร่หลายทั่วไป

ADSL จะก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในอีกสิบกว่าปีข้างหน้านี้ เมื่อบรรดาบริษัทโทรศัพท์ต่าง ๆ พากันเข้าสู่ตลาดใหม่ทางด้านการส่งข้าวสารข้อมูลในรูปของภาพและมัลติมีเดียกันมากขึ้น การวางสายเคเบิลเพื่อรองรับการส่งแบนด์กว้าง (Broadband) ใหม่คงต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ลูกค้าตามเป้า
ทว่าความสำเร็จของบริการใหม่เหล่านี้ยังคงต้องอาศัยการทำตลาด ประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นผู้ใช้บริการค่อนข้างมาก และใช้เวลานาน 2-3 ปี การนำเสนอรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ตัวอย่างวิดีโอที่มีให้เลือกดู รีโมท ซีดีรอมCorporate LAN และอินเทอร์เน็ต จนถึงประตูบ้านเรือนและสำนักงานขนาดเล็กนี้ADSL สามารถที่จะทำให้ตลาดเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาได้ และเป็นประโยชน์แก่บริษัทโทรศัพท์ต่าง ๆ ตลอดจนผู้ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องด้วย 

ความสามารถ
วงจร ADSL เกิดขึ้นด้วยการต่อ ADSL modem เข้าที่ปลายแต่ละด้านของคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นสายคู่ตีเกลียว ทำให้เกิดเป็นช่องสื่อสารข้อมูล (Information channel)ขึ้น ช่อง คือช่องสำหรับดาวน์สตรีม (Downstream) ความเร็วสูง ช่องส่งดูเพล็กซ์ (Duplex) ความเร็วปานกลาง และช่องสำหรับให้บริการโทรศัพท์แบบเดิม (POTS)ทั้งนี้ช่องบริการโทรศัพท์แบบเดิมจะถูกแยกออกจากดิจิตอลโมเด็มด้วยฟิลเตอร์ จึงมั่นใจได้ว่าการสนทนาทางโทรศัพท์ตามปกติจะไม่มีการถูกตัดหรือกระทบกระเทือนแต่อย่างใด แม้อุปกรณ์ ADSL จะมีปัญหาหรือขัดข้อง
อนึ่ง ช่องความเร็วสูงนั้นมีอัตราความเร็วตั้งแต่ 1.5-6.1 Mbps ในขณะที่การสื่อสารข้อมูลแบบดูเพล็กซ์อยู่ในช่วงตั้งแต่ 16-40 Kbps และแต่ละช่องสัญญาณสามารถที่จะทำการsubmultiplex ให้เป็นช่องสำหรับการส่งด้วยอัตราความเร็วต่ำ ๆ ได้หลาย ๆ ช่อง ADSL modem รองรับการสื่อสารข้อมูลในอัตราเดียวกันกับ digital hierachies ของอเมริกาเหนือและยุโรป (ดูตารางที่ 1) ผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการที่อัตราความเร็ว และความสามารถต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ทั้งนี้รูปแบบต่ำสุดให้ดาวน์สตรีมได้ 1.5 หรือ 2.0 Mbps และช่องดูเพล็กซ์ 16 Kbps อีกหนึ่งช่อง ส่วนรูปแบบอื่น ๆ ให้บริการได้ในอัตรา 6.1 Mbps และ64 Kbps ดูเพล็กซ์
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถให้ดาวน์สตรีมได้สูงถึง 8 Mbps และดูเพล็กซ์ที่อัตราสูงถึง640 Kbps จำหน่ายในท้องตลาด โดย ADSL modem ใช้ได้กับ ATM Transport ที่มีอัตราความเร็วเปลี่ยนแปลงได้และชดเชย ATM overhead ได้ดีพอ ๆ กับ IP Protocolสำหรับอัตราความเร็วดาวน์สตรีมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่าความยาวของสายทองแดง ขนาดของสายที่ใช้ จำนวนของบริดจ์แทร็พ (bridged trap) และ cross-coupled interface ทั้งนี้การลดทอนในทางสายจะเพิ่มขึ้นตามความยาวของสายและความถี่ และลดลงเมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางของสายลดลง ซึ่งหากไม่พิจารณาถึงบริดจ์แทร็พแล้ว ADSL จะช่วยให้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ตามตารางที่ 2
ค่าที่วัดได้ของแต่ละบริษัทโทรศัพท์นั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ได้ แต่สมรรถนะขนาดนี้ก็สามารถครอบคลุมการใช้งานได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของ loop plant ที่ใช้แล้ว ขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ต้องการ อย่างไรก็ดีผู้ใช้บริการที่อยู่ในระยะทางดังกล่าวนี้ ยังคงอยู่ในวิสัยที่ให้บริการได้ด้วยระบบสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอล (digital loop carriers)หรือ DLC ที่ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง แต่เมื่อมีการนำระบบ DLC มาใช้งานในเชิงพาณิชย์แล้ว บริษัทโทรศัพท์สามารถที่จะสนองความต้องการในการใช้งานได้ในเวลาค่อนข้างสั้น จากการที่เราใช้ประโยชน์จาก ADSL ได้สารพัดอย่าง จึงพอมองเห็นช่องทางที่จะนำ ADSL ไปใช้ในงานเกี่ยวกับวิดีโอที่บีบอัดสัญญาณแบบดิจิตอล (digital compressed video) ทว่าจากการที่สัญญาณเป็นแบบ real time ดิจิตอลวิดีโอจึงไม่สามารถใช้วิธีการควบคุม level errorของ link หรือโครงข่ายแบบที่มักพบใช้กันในระบบสื่อสารข้อมูลทั่ว ๆ ไปได้ เพราะฉะนั้นจึงนำ ADSL modem มาใช้งานร่วมกับ forward error correction บางแบบเพื่อลดการผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากการคัพเพิลสัญญาณรบกวนอย่างต่อเนื่องเข้าไปในทางสาย

เทคโนโลยีADSL เป็นกระบวนการจัดการกับสัญญาณแบบดิจิตอลขั้นสูงและทำการบีบข้อมูลเพื่อส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นสายคู่ตีเกลียวไปยังปลายทาง นอกจากนี้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในส่วนของทรานสฟอร์มเมอร์ อะนาล็อก ฟิลเตอร์ และ A/D Converterโดยทางสายโทรศัพท์ที่มีความยาวมาก ๆ นั้นอาจลดทอนสัญญาณที่ 1 MHz (ซึ่งอยู่นอกแบนด์ที่ ADSL ใช้) มากถึง 90 เดซิเบล ซึ่งผลักดันให้ส่วนที่เป็นอะนาล็อกของ ADSL modem ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะให้ใช้งานได้ในแถบความถี่ที่กว้างมาก สามารถแยกช่องสัญญาณ และมีตัวเลขของสัญญาณรบกวนต่ำ หากมองผิวเผินภายนอกแล้ว ADSL มีลักษณะคล้าย ๆ กับเป็นท่อส่งข้อมูลซิงโครไนซ์ที่มีอัตราความเร็วขนาดต่าง ๆ ไปบนคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา แต่เมื่อมองภายในที่มีการใช้ทรานซิสเตอร์ทำงานแล้ว เป็นเรื่องประหลาดที่มักเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปได้ ในกรณีที่ต้องการให้เกิดเป็นช่องสื่อสัญญาณได้หลาย ๆ ช่องนั้น ADSL modem จะทำการแบ่งแถบความถี่ที่ใช้งานของคู่สายโทรศัพท์ออกไปอีก 1ช่อง มี แบนด์ คือเป็น FDM (Frequency Division Multiplexing) หรือ Echo Cancellationโดย FDM กำหนดให้ใช้แบนด์หนึ่งสำหรับอัพสตรีมข้อมูล และอีกแบนด์หนึ่งสำหรับดาวน์สตรีมจะถูกแบ่งด้วยวิธีการของ TDM (Time Division Multiplexing) เป็นช่องความเร็วสูง 1ช่อง (หรือมากกว่า) และช่องความเร็วต่ำอีก ช่อง (หรือมากกว่า) ส่วนกรณีของอัพสตรีมจะถูกมัลติเพล็กซ์เข้ากับช่องความเร็วต่ำที่สัมพันธ์กัน สำหรับ Echo Cancellation จะกำหนดให้แบนด์อัพสตรีมเกิดการเหลี่ยมกับของดาวน์สตรีม และแยกทั้งสองออกจากกันด้วย local echo cancellation ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่คุ้นเคยกันดีในโมเด็ม V.32 และ V.34ส่วนเทคนิคอื่น ๆ นั้น ADSL จะแยกย่านความถี่ 4 KHz ไว้สำหรับใช้กับบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ปลาย DC ของแบนด์ ADSL ขณะทำการรวบรวม data stream ที่เกิดจากการมัลติเพล็กซ์ช่องดาวน์สตรีม ช่องดูเพล็กซ์ และช่องบำรุงรักษาเข้าเป็นบล็อก ๆ และใส่รหัส Error Correction เข้าแต่ละบล็อก จากนั้นทางด้านรับจะทำการแก้ไขความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงของการสื่อสัญญาณให้อยู่ในระดับที่รับรู้ได้ด้วยรหัส และความยาวของบล็อก นอกจากนี้มันยังอาจจะสร้างบล็อกพิเศษอีก ด้วยการสอด (interleave) ข้อมูลเข้าไปภายในบล็อกย่อย (subblock) ซึ่งทำให้ภาครับสามารถแก้ไขความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เป็นผลทำให้การส่งสัญญาณข้อมูลและภาพเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ ๆ กัน

มาตรฐานและสมาคมที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มทำงาน T1E1.4 ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ให้การรับรองมาตรฐาน ADSL ที่อัตราความเร็วสูงถึง 6.1 Mbps แล้ว (มาตรฐาน ANSI T1.413)
ทางด้านสถาบันมาตรฐานทางเทคนิคแห่งยุโรป (ETSI) ก็ได้ช่วยในการจัดทำภาคผนวกให้กับ T1.413 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความต้องการของประเทศทางยุโรป ปัจจุบัน T1.413 ได้สรุปเรื่องของอินเทอร์เฟส เทอร์มินัลเดียวทางด้านผู้ใช้บริการแล้ว ส่วน Issue II (ซึ่งกลุ่มT1E1.4 กำลังศึกษา) จะมีการขยายมาตรฐานออกไปเพื่อรวมถึงการอินเทอร์เฟสที่มีการมัลติเพล็กซ์กันทางปลายด้านผู้ใช้บริการ โปรโตคอลสำหรับรูปแบบและการบริหารโครงข่าย และการปรับปรุงด้านอื่น ๆ ด้วยสมาคม ATM (ATM Forum) และ DAVIC ก็ให้การรับรองว่า ADSL เป็นโปรโตคอลสื่อสารใน physical layer สำหรับคู่สายตีเกลียวที่ไม่มีชีลด์สมาคมADSL (ADSL Forum) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 เพื่อส่งเสริมแนวความคิดของADSL และช่วยในการพัฒนาโครงสร้างของระบบ ADSL โปรโตคอลและอินเทอร์เฟสสำหรับการใช้ของ ADSL ที่สำคัญ ๆ ปัจจุบันสมาคมมีสมาชิกกว่า 200 ราย จากบรรดาผู้ให้บริการ (SP) ผู้ผลิตอุปกรณ์ และบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ จากทั่วทุกมุมโลก

สถานภาพทางตลาด
ได้มีการทดสอบการใช้งานของ ADSL modem เป็นผลสำเร็จแล้วกว่า 30 บริษัท และมีการทดลองติดตั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ กับคู่สายนับพัน ๆ คู่แล้วในอเมริกาเหนือและยุโรป บริษัทโทรศัพท์จำนวนไม่น้อยได้วางแผนทางการตลาดที่จะทดลองใช้ ADSL โดยส่วนใหญ่มุ่งไปที่การเข้าถึงข้อมูล (data access) แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ใช้งานทางด้านวิดีโอ อินเทอร์แอคทีฟเกม การชอปปิงส่วนตัว และโปรแกรมทางการศึกษาต่าง ๆทางด้านบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์เอง ก็มีการผลิตชุดชิพออกทดลองจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ซึ่งชุดชิพดังกล่าวนั้นรวมถึงอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น โปรแกรมเมเบิล ดิจิตอล ซิกแนล โปรเซสเซอร์ (Programmable digital signal processors) และ Custom ASICS นอกจากนี้บริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ยังมีการลงทุนอีกต่อไป เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงาน และลดจำนวนชิพลง ลดการสิ้นเปลืองกำลัง และทำให้มีราคาถูกลง ซึ่งล้วนแต่ส่งเสริมให้เกิดบริการโดยใช้ ADSL โดยรวมในที่สุด

SDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญ
สองประการคือ
  - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต
  - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว
เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย ปี (หรือมากกว่านี้) จึง จะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้ และยังเหลืออีกมากมายที่มีการเริ่มพัฒนากันและพัฒนาอุปกรณ์ให้ สามารถใช้งานตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

HDSL
           ใช้ในการเชื่อมต่อสถานีสายอากาศระบบเซลลูล่า,PBX,เซิร์ฟเวอร์ของอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายข้อมูลส่วนตัว เทคโนโลยี HDSL (High-Data-Rate Digital Subscriber Line) มีความ
สามารถในการ มอดูเลตขั้นสูงที่ทำให้ส่งข้อมูลได้ความเร็วสูง และความต้องการใช้รีพีตเตอร์ลดจำนวนลงการใช้ HDSL จำนวน เส้นจะได้ความเร็วที่เท่ากับสายของT1 (1.544 Mbps) ในระยะทาง 12,000 ฟุตและ สามารถให้ความเร็วเทียบเท่า E1โดยการใช้ HDSL จำนวน เส้น เทคโนโลยี HDSL เป็นการสื่อสาร แบบสมมาตรที่การรับ/ส่งข้อมูลในอัตราที่เท่ากันทั้งสองทิศทาง 13. ADSL ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) พัฒนาขึ้นต่อจาก HDSL เพื่อใช้ในงานที่ต้องการ โหลดของข้อมูลแบบไม่มาตรา เช่น การใช้บนอินเทอร์เนตการติดตั้งเครือข่าย LAN จากระยะไกลวิดีโอตามประสงค์ และอื่นๆ เทคโนโลยี ADSL รองรับช่วงความเร็วตั้งแต่ 1.5 Mbps ไปจนถึง 9 Mbps ในทิศทางขาลง (จากเครือข่ายไปยังผู้ใช้บริการ) ส่วนในทางขาขึ้นความเร็วอาจผันแปรอยู่ในช่วง 16 Kbps ไปจนถึง 640 Kbpsเทคโนโลยีนี้มีข้อดีเหนือกว่าเทคโนโลยี ISDN ในเรื่องพลังงานไฟฟ้าเพราะ ใช้สายโทรศัพท์ท้องถิ่นจึงยังคงทำงานต่อไปได้แม้ไฟจะดับ เทคโนโลยี ADSL ได้รับการกำหนด มาตรฐานโดย ANSI และ ETSI (European Telecommunications Standards Institute) ในการใช้งาน ADSL บางแห่งนั้นมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า CAP (Carrierless Amplitude/Phase) เพื่อมอดูเลตสัญญาณ ในสาย ดังที่ชื่อได้แจ้งไว้ เทคนิคนี้จะทำการลดสัญญาณพาหะบนสายก่อนที่จะส่งออกไป แม้ว่าวิธีการ นี้จะดูง่ายค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ความสามารถในการรองรับความเร็วจะเท่ากับสาย T1เท่านั้นและยังมีปัญหา จากการถูกรบกวนได้โดยง่ายอีกด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้รับอนุมัติให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ADSL ทั้ง โดย ANSI และ ETSI การมอดูเลตอีกวิธีหนึ่งของ ADSL คือ DMT (Discrete Multitone) วิธีการนี้แบ่ง ความถี่ที่มีอยู่ออกเป็น256 ช่องขนาดเล็กที่ไม่ทับกัน แต่ละช่องสัญญาณขนส่งชุดข้อมูลได้ขนาดต่างกัน ไป ทั้งนี้ในช่วงความถี่ที่สูงเป็นช่วงที่มีโอกาสถูกสัญญาณรบกวนได้ง่ายกว่าจึงขนส่งข้อมูลได้น้อยที่สุด วิธีการนี้ได้รับการรับรองเป็นมาตรฐานทั้ง ANSI และETSI ที่มีความสามารถทำความเร็วได้สูงกว่าระบบ

VDSL
            เป็นเทคโนโลยี DSL ที่เร็วที่สุด ให้ความเร็วที่อัตรา 13-52 Mbps ในขาลง และ 1.5-2.3 Mbps ใน ขาขึ้นทำงานบนสายทองแดงที่ความยาวสาย 1,000-4,500ฟุต เทคโนโลยี VDSL(Very-High-Data-Rate Digital Subscriber Line) นี้คงเป็นเทคโนโลยีที่ดูจะห่างไกลที่สุดที่จะนำมาทำเป็นมาตรฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น