วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย



BLUETOOTH
 BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกันอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย
การทำงานของ Bluetooth?
Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (กิ๊กกะเฮิร์ซ) แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ,เสียงแอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-10 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ ด้วย ส่วนความสามารถการส่งถ่ายข้อมูลของ Bluetooth จะอยู่ที่ 1 Mbps (1 เมกกะบิตต่อวินาที) และคงจะไม่มีปัญหาอะไรมากกับขนาดของไฟล์ที่ใช้กันบนโทรศัพท์มือถือ หรือ การใช้งานแบบทั่วไป ซึ่งถือว่าเหลือเฟือมาก แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ล่ะก็ คงจะช้าเกินไป และถ้าถูกนำไปเปรียบกับ Wireless LAN (WLAN) แล้ว ความสามารถของ Bluetooth คงจะห่างชั้นกันเยอะ ซึ่งในส่วนของ WLAN ก็ยังมีระยะการรับ-ส่งที่ไกลกว่า แต่ขอได้เปรียบของ Bluetooth จะอยู่ที่ขนาดที่เล็กกว่า การติดตั้งทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ การใช้พลังงานก็น้อยกว่ามาก อยู่ที่ 0.1 วัตต์ หากเทียบกับคลื่นมือถือแล้ว ยังห่างกันอยู่หลายเท่าเหมือนกัน
ประโยชน์ของ Bluetooth?
คอมพิวเตอร์ กับ โทรศัพท์มือถือ

หากเราต้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พริ๊นเตอร์ คีย์บอร์ด เม้าท์ หรือลำโพง การเชื่อมต่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวเชื่อมต่อทั้งหมด (Serial และ USB) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกทั้งในด้านการใช้สอย เคลื่อนย้าย และความเรียบร้อยต่างๆ แต่หากเครื่อง PC มีอุปกรณ์ Bluetooth ก็สามารถติอต่อเข้าหากันได้โดยใช้คลื่นแทนการใช้สายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด ทั้งการส่งไฟล์ภาพเสียงข้อมูล อีกทั้งระบบเชื่อมต่อผ่าน CSD และ GPRS บนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้นด้วย แต่ข้อจำกัดการใช้งานก็มีเช่นกัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค หรือ พ็อกเก็ต พีซี เข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้งานได้เพียง อุปกรณ์ ต่อ ชิ้นเท่านั้น ซึ่งบางทีอาจจะต้องสลับการใช้งานกันบ่อยๆ (สำหรับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายซะส่วนใหญ่) แต่ก็ถือว่าให้ความสะดวกมากกว่าการใช้สายเคเบิ้ล
โทรศัพท์มือถือ กับ ชุดหูฟัง (Smalltalk)
ชุดหูฟัง หรือ Smalltalk อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้เกือบทุกคนต้องมีใช้กัน ซึ่งราคาเดี๋ยวนี้มีตั้งแต่ 30-300 บาท ในด้านการใช้งานบนเครื่องโทรศัพท์มือถือ หากเป็นชุดหูฟังแบบมีสาย ข้อจำกัดจะอยู่ที่ เราไม่สามารถเคลื่อนตัวไปไหนได้ไกลกว่าที่สายจะยาวถึง แล้วก็ต้องคอยระวังสายไม่ให้ไปเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ บางทีอาจจะทำให้สายหลุดออกจากเครื่องด้วย แต่เมื่อนำ Bluetooth มาแทนที่การใช้งาน ก็น่าจะเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้มือทั้งสองข้างทำงานอย่างอื่นไปพร้อมๆ กันด้วย ทั้งในเวลาขับรถ (ตอนนี้กฎหมายก็มีออกมาแล้ว เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือบนรถ) ขณะออกกำลังกาย หรือ ขณะปฏิบัติกิจต่างๆ ก็สามารถขยับตัวไปไหนได้อย่างสะดวก แค่หยิบชุดหูฟังมาแนบหูแล้วเอาโทรศัพท์เหน็บเอว เท่านี้ก็คุยได้แล้ว จากประโยชน์ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี Bluetooth สามารถนำมาใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และยังเพิ่มความสะดวกในการใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ และนอกเหนือจากที่กล่าวไป Bluetooth ยังถูกพัฒนามาใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย ทั้งหูฟังสเตอริโอ เครื่องเล่นซีดี รีโมทวิทยุ แม้กระทั่งในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี Bluetooth ไปใช้กันแล้ว ทั้งชุด Handsfree, หรือ รีโมทเปิด-ปิดประตู หรือระบบ Keyless แต่เราไม่ต้องกดปุ่มที่กุญแจอีกต่อไป เพียงแค่อยู่ในระยะการทำงาน ประตูก็จะเปิดล็อคให้ทันที ส่วนเวลาลงรถก็สามารถเดินตัวปลิวออกจากรถได้เลย เมื่อการเชื่อมต่อระหว่างตัวรถกับกุญแจขาดจากกัน ก็จะล็อคให้เองอัตโนมัติ (รถบางรุ่นเริ่มมีใช้กันแล้ว Mercedes-Benz SLR)
บลูทูธในอนาคต?
ปัจจุบัน การแทนที่สายเคเบิลด้วย Bluetooth อาจยังมีปัญหาอยู่บ้าง เช่น ในด้านของราคาที่สูงกว่าแบบใช้สายเคเบิ้ลอยู่พอสมควร ดังนั้นหากอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth เหล่านี้ สามารถลดระดับราคาลง (แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยได้หลายๆด้าน) เทคโนโลยีบลูทูธ ก็น่าจะถูกนำมาใช้แทนที่การติดต่อสื่อสารแบบที่ใช้สายได้อย่างแพร่หลายค่อนข้างแน่นอน ในอนาคตใกล้ Bluetooth จะกลายเป็นระบบไร้สายมาตรฐานบนเครื่องโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ PDA โน็ตบุ๊ก รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และจะทำให้ตลาดการสื่อสารเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะมีการค้นคิดวิจัยเพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาสินค้า-บริการ รวมถึงการติดต่อสื่อสารที่สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างน่าจะไปได้สวย ดังนั้น Bluetooth จึงเป็นเทคโนโลยีอนาคตที่น่าสนใจ และ น่าจับตามองที่สุด  มาตรฐาน IEEE802.15
มาตรฐาน IEEE 802.15 (IEEE 802.15 Working Group) สำหรับเครื่องข่ายไร้สายส่วนบุคคล หรือดับเบิลยูแพน (WPAN) ซึ่งมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน เครือข่ายไร้สายส่วนบุคคลนี้ หมายถึงเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับการสื่อสารระยะสั้น ตัวอย่างเช่น การซิงค์ข้อมูลระหว่างเครื่องพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือการเชื่อมต่อทีวีกับเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของเคเบิลทีวี เทคโนโลยีที่ได้รับเลือกจะได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “802.15.3a” ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้มหาศาลระดับ 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6หมื่นล้านบาท) ในปี 2007 ตามการรายงานของซีเน็ตโดยอ้างถึงประมาณการณ์ของบริษัทเอบีไอ (Allied Business Intelligence; ABI) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในตัว “802.15.3a” แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วก็คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐฯชื่อ อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ ยูดับเบิลยูบี” (Ultra Wideband; UWB) ซึ่ง 95% ของข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาเลือกใช้เทคนิคนี้ ตามคำกล่าวของ เบน แมนนี (Ben Manny) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย บริษัทอินเทล ผู้ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีอัลตร้าไวด์แบนด์กล่าวว่า มันถูกกว่าและกินพลังงานน้อยกว่าบลูทูธ ทั้งยังมีความเร็วสูงกว่าบลูทูธประมาณ 100 เท่า ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย บลูทูธ (Bluetooth) คือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล และเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและพีดีเอชั้นนำทั่วโลก รวมถึงบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) และบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) แต่ผู้ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้แย้งว่า เพราะอัลตร้าไวด์แบนด์เป็นช่องสัญญาณสื่อสารความถี่กว้าง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้อาจไปกวนความถี่ในช่องสัญญาณอื่นที่อยู่ใกล้ๆและกำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ไว-ไฟ (Wi-Fi) “สนีคกี้เวฟ” “อัลตร้าไวด์แบนด์หรือ สนีคกี้เวฟ” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นภายในกองทัพสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สื่อสารระยะสั้นแบบไร้สายและขจัดปัญหาการถูกดักฟัง คลื่นวิทยุส่วนใหญ่จะเป็นคลื่นความถี่ชนิดแนร์โรว์แบนด์ (Narrow Band) ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือที่ใช้ช่องสัญญาณในช่วง 100MHz แต่อัลตร้าไวด์แบนด์จะสูงกว่านั้นหลายสิบหลายพันเท่า บางบริษัทยอมรับว่า อัลตร้าไวด์แบนด์มีช่องสัญญาณที่กว้างมากๆ นั่นเป็นธรรมชาติของมัน หลายรายแก้ไขโดยการซอยช่องความถี่อัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็นช่องสัญญาณเล็กๆซึ่งแต่ละช่องจะมีความถี่ประมาณ 1,000MHz ตัวอย่างเช่น บริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม (XtremeSpectrum) ที่ซอยช่องสัญญาณอัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็น ช่องสัญญาณย่อย ซึ่งวิธีนี้ได้รับการสนับสนุนจากโมโตโรลา (Motorola) ด้วย ตามการเปิดเผยของตัวแทนจากบริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม ขณะที่บริษัทอื่น เช่น อินเทลซอยออกเป็น 14 ช่องสัญญาณ
WI-FI
Wi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต ่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certifiedซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่ อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปาก 

Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบNetwork แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก
Wireless คืออะไร
Wireless คือลักษณะของการใช้งานอุปกรณ์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แปลตรงตัวว่าไร้สาย ฉะนั้นอุปกรณ์อะไรก็ตามที่ติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ใช้สายสัญญาณถือว่าอุปกรณ์นั้นเป็น Wireless เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเรียกอะไรก็เหมือนๆ กันครับไม่ผิด Wireless ก็ถูกครับ Wi-Fi ก็ถูกครับ
ลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์
Wi-Fi ได้กำหนดลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ภายในเครือข่าย WLAN ไว้ ลักษณะ คือโหมดInfrastructure และโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer

โหมด Infrastructure
โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่าย Wi-Fi จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน WLAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ ( Client Station ) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Desktop, Laptop, หรือ PDA ต่างๆ ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi และสถานีแม่ข่าย ( Access Point ) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น ( ซึ่งโดยปกติจะเป็นเครือข่ายIEEE 802.3 Ethernet LAN ) การทำงานในโหมด Infrastructure มีพื้นฐานมาจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือสถานีผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงกับสถานีแม่ข่ายที่ให้บริการ แก่สถานีผู้ใช้นั้นอยู่เท่านั้น ส่วนสถานีแม่ข่ายจะทำหน้าที่ส่งต่อ ( forward ) ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีผู้ใช้ไปยังจุดหมายปลายทางหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ รับจากเครือข่ายอื่นมายังสถานีผู้ใช้
โหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
เครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer เป็นเครือข่ายที่ปิดคือไม่มีสถานีแม่ข่ายและไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น บริเวณของเครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc จะถูกเรียกว่า Independent Basic Service Set ( IBSS ) ซึ่งสถานีผู้ใช้หนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับสถานีผู้ใช้อื่นๆในเขต IBSSเดียวกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีแม่ข่าย แต่สถานีผู้ใช้จะไม่สามารถรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอื่นๆได้
Wi-Max


Wi-Max คืออะไร ดีอย่างไร ทำไมถึงมีการโปรโมท

WiMAX คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไป

นี่คือเทคโนโลยีในอนาคต(ที่ประเทศไทยจะได้ใช้ มั้ง!!)
ประโยชน์ของ WiMAX กับชีวิตประจำวัน
จะเห็นได้ว่า WiMAX มีจุดเด่นคือระยะทางที่ไกล ความเร็วที่สูง และไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณ แถม WiMAX ยังมีการ เข้ารหัสข้อมูลที่ปลอดภัยสูงอีกด้วย WiMAX จะทำให้การติดตั้ง intenet ในสถานที่ต่าง ๆ ทำได้ง่าย เรื่องชุมสาย(จำกัด)จะหมดไป บริการอื่นๆ ก็จะมากมายหลากหลาก ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจะ ระยะที่ไกล เป็นเท่าตัว แถมยังมีความเร็ว สูงอีกด้วยครับ ไม่ มีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญา ณอีกด้วย เหมาะสำหรับอุปกรณ์แบบพกพาในการเดินทาง ช่วยให้ ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารท ี่ดี และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม (มีNotebook นั่งเล่นในรถTaxiได้นะเนี่ย)
จุดอ่อนของระบบ WiMAX 
ความใหม่ของมาตรฐานระบบ WiMAX เนื่องจากเพิ่งมี การคิดค้นและเริ่มมาพัฒนาอย่างจริงจังไม่กี่ปี ดังนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของมาตรฐานรวมไปถ ึงผู้ผลิตที่นำเอามาตรฐาน WiMAX ไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานจริงก็มีจำนวนน้อย อุปกรณ์ก็ยังไม่หลากหลาย ต้องอาศัยเวลาสักพักก่อนได้รับความนิยม รวมไปถึงราคาอุปกรณ์ WiMAX ที่ค่อนค้างสูงขณะนี้ ความถี่ของการให้บริการ ตามมาตรฐานของ WiMAX จะใช้ความถี่ช่วง 2-6GHz (802.16e) และ 11GHz (802.16d) ซึ่งในบางประเทศจะเป็นช่วงความถี่ที่มีการควบคุม ต้องมีการขออนุญาตก่อนให้บริการ และในบางประเทศ ไม่มีข้อกำหนดตรงนี้ ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนวางระบบ WiMAX ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเสียก่อน นี่ คือเหตุผลที่Wi-Max ดียังไงครับ เร็ว ไกลไม่ต้องคำนึงถึงชุมสาย แต่ก็มีคู่แข่ง เช่น UMTS / WCDMA ที่หลายๆท่านคงรู้จักกัน โดย 2คู่แข่งนี้เน้นการส่งข้อมูลโดยจะได้ความเร็วตั้งแต่ 2Mbps จนถึง 10Mbps มากกว่าเน้นระยะทางหรือความสะดวกในการใช้งานครับ และ สามารถใช้กับมือถือบางตัวได้อีกด้วย คู่แข่งน่ากลัวทีเดียว (ถ้าWi-max เสานึงสามารถส่งได้ ตั้งแต่ 5-48กิโลเมตร (เป็นแค่เสาส่งครับ ไม่มีชุมสาย ไม่มีอะไรทั้งนั้น) แต่ ตัวรับนั้น ได้แค่กม.ครับ(ระยะทางระหว่างเสาได้ 48 กม. งงหนะสิก็ง่าๆครับ เสานึงตั้งห่างได้48กม. โดยที่สัญญาณที่ส่งไปยังเสาจะไม่ขาดหายครับ เช่น จากบางลำภู ถึงหนองแขม แค่2เสาอะไรเงี้ย แต่ตัวรับห่างเสาได้ไม่เกิน 5
กม. แต่ไม่มีชุมสาย คือใช้เยอะแค่ไหนก็ได้ ประมาณนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น