วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร



ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Mail หรือที่เราเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า E-mail ซึ่งเป็นการรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทาให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทาให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็วและรู้สึกเพลิดเพลินกับการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วทุกมุมโลก จะสั้นหรือยาว การรับส่งอีเมล์ในระบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างถูกต้องได้นั้นจะต้องอาศัยที่อยู่ของทั้งผู้ส่งและผู้รับที่เรียกว่า “อีเมล์แอดเดรส (E-Mail Address)” เป็นตัวอ้างอิง อีเมล์แอดเดรสนี้เป็นชื่อเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน ภายในชื่อนี้จะระบุว่าเป็นอีเมล์ของผู้ใช้รายใด ส่งมาจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งใด เช่น webmaster@moe.go.thหมายถึงผู้ใช้ที่มีรหัสว่า webmaster จากระบบเครือข่าย moe.go.thจากชื่อของอีเมล์นี้ก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นจดหมายของ ผู้ใด ส่งมาจากที่ใดหรือประเทศใด เหมือนกับการส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป
ประวัติความเป็นมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์เริ่มมีขึ้นในปี ค.. 1971 โดยนาย Roy Tomilisonเป็นผู้คิดค้นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบของอีเมล์ขึ้นมาได้เป็นคนแรก ซึ่งขณะนั้นทางานอยู่ที่ Bolt Beranek and Newman(BBN) โดยที่เขาคงไม่คาดคิดว่าการรับส่งอีเมล์จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ไปจากเดิมเป็นอันมากเช่นในปัจจุบัน ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว บรรดาวิศวกรของ BNN สามารถส่งข้อความไปยังคนอื่นๆ ได้ โดยข้อความที่ส่งออกไปนั้นจะถูกเก็บไว้ใน Mailbox ของผู้รับ แต่ดูเหมือนว่าประโยชน์การใช้งานนั้นยังมีไม่มากนักเพราะข้อจากัดในการใช้งาน ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่งข้อความและใช้ในการเปิดอ่านจาก Mailbox นั้นจะต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
กระบวนการทางานของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนในการรับ-ส่งอีเมล์นั้น ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีอีเมล์แอดเดรส หรืออาจจะเข้าใจง่าย ๆว่า “ตู้ไปรษณีย์” เพื่อใช้ในการรับ-ส่งเริ่มต้นจากการที่ผู้ส่งเขียนอีเมล์ จากนั้นระบุอีเมล์ของผู้รับและทาการกดปุ่มส่งอีเมล์ โปรแกรมก็จะทาการติดต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ผู้ส่งใช้บริการอยู่ โดยตัวควบคุมก็จะค้นหาที่อยู่เครื่องแม่ข่ายของผู้รับ แล้วทำการติดต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายของผู้รับ ซึ่งเมื่อเครื่องแม่ข่ายของผู้รับได้รับอีเมล์ก็จะทาการจัดเก็บอีเมล์ฉบับนี้ไว้ในกล่องรับอีเมล์ของผู้รับ (Inbox) โดยในการส่งอีเมล์นี้จะกระทาผ่านโปรโตคอลที่เรียกว่า“SMTP”
อีเมล์แอดเดรส ( E-mail address)
E-mail address หมายถึง ที่อยู่ของผู้ร้องขอใช้บริการอีเมล์ไม่ว่าจะเป็นผู้รับหรือผู้ส่ง โดย การส่งจดหมายผ่านอินเตอร์เนตนั้น มีรูปแบบดังนี้

ชื่อล็อคอินหรือชื่อเรียกเข้า @ องค์กรที่ให้บริการ
ชื่อล็อคอินหรือชื่อเรียกเข้า หมายถึง ชื่อหรือสัญลักษณ์ที่ผู้ขอใช้บริการอีเมล์ตั้งขึ้นแทนตัวเอง อาจเป็นชื่อย่อ หรือรหัสแทน โดยจะต้องไม่ซ้ากับคนอื่นในเครือข่ายที่ให้บริการนั้น ๆ อ่านว่า แอ็ท แปลว่า อยู่ที่ ใช้คั้นระหว่างชื่อล็อคอินกับชื่อองค์กรที่ให้บริการ
องค์การที่ให้บริการ หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์โดยการลงทะเบียนสมัครสมาชิก หรือองค์กรที่สังกัดอยู่
เช่น webmaster@yahoo.com
webmaster คือ ชื่อที่ผู้ขอใช้กาหนดขึ้น โดยการให้บริการของwww.yahoo.com
reddevil คือ ชื่อที่ผู้ขอใช้กาหนดขึ้น โดยการให้บริการของww.redarmyfc.com เป็นต้น
ประเภทของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในปัจจุบัน
อีเมล์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คือ อีเมล์ที่มีแถมมาให้ควบคู่กับการสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเป็นการให้บริการกับลูกค้าที่สมัครใช้บริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าของสินค้า และเป็นอีกช่องทางในการที่จะโฆษณาการให้บริการ และจัดส่งข้อมูลข่าวสารไปถึงสมาชิกที่สมัครใช้เลือกText Size ซึ่งสามารถเลือกได้ 5 ระดับตัวอักษร คือ Largest Larger Medium Smaller และ Smallestบริการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อสมัครแล้วทางศูนย์จะให้อีเมล์แอดเดรสกับสมาชิก เช่น ploy241@ksc.netซึ่งก็คืออีเมล์ที่บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต KSC แจกให้กับสมาชิก เป็นต้น
อีเมล์จากหน่วยงาน คือ อีเมล์ที่องค์กรออกให้เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรได้ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ จะได้รับอีเมล์แอดเดรสของตนเองจากการสมัครหรือกาหนดให้จากผู้ดูแลระบบ อาทิ เช่นploy221@kku.ac.th คือ อีเมล์ของบุคลากรที่ชื่อ พลอยซึ่งเป็นสมาชิกในหน่วยงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น
อีเมล์ฟรีจากเว็บไซต์ คือ อีเมล์ที่มีเว็บไซต์เปิดให้บริการรับ-ส่งอีเมล์ หรือทาหน้าที่เป็นตู้รับฝาก-ส่งจดหมายบนอินเทอร์เน็ตฟรี ซึ่งอีเมล์ฟรีเหล่านี้พบได้จากเว็บไซต์ชื่อดังมากมายบนอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบการให้บริการเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล บริการให้พื้นที่ฟรีสาหรับการสร้างเว็บไซต์ และให้บริการอีเมล์ฟรีโดยตรง จุดประสงค์หลักเพื่อเรียกให้คนเข้ามาใช้บริการในจานวนมาก ๆ ซึ่งเมื่อคนเข้ามาชมและใช้บริการมาก จะทาให้เว็บไซต์นั้น ๆ ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ เช่น จากการโฆษณาที่ลงโฆษณาผ่านเว็บนั้น
รูปแบบของการบริการฟรีอีเมล์
การให้บริการฟรีอีเมล์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
Web Based E-mail เป็นอีเมล์ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ในเครื่องเชิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ดังนั้นทุกครั้งที่ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านหรือส่งอีเมล์จาเป็นจะต้องเปิดเว็บพร้อมกรอกชื่อและรหัสผู้ใช้ก่อนเข้าไปใช้บริการ และผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบจากเครื่องใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Pop Mail เป็นอีเมล์ที่สนับสนุนให้สามารถเรียกมาเปิดอ่านผ่านโปรแกรมรับส่งอีเมล์บนเครื่องของผู้ใช้ แต่เมื่อผู้ใช้ได้เปิดอ่านอีเมล์แล้ว โปรแกรมจะโหลดอีเมล์มาไว้บนเครื่องของผู้ใช้ พร้อมกับลบต้นฉบับบนเซิร์ฟเวอร์ทิ้งไป
Imap Mail เป็นอีเมล์ที่คลายกับ Pop Mail ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมโหลดอีเมล์ มาเปิดอ่านที่เครื่องของผู้ใช้ได้ แต่เหนือกว่านั้นคือ ผู้ใช้สามารถเห็นหัวข้ออีเมล์ก่อนที่จะโหลดข้อความ และถูกถ่ายโอนข้อมูลถึงกันทันทีหลัง จากมีการเลือกเปิดอ่านอีเมล์ที่ต้องการ
มารยาทในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
มารยาทที่ควรต้องจาในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
1. การขึ้นต้นและลงท้ายให้เหมาะสม ก็เหมือนกับหลักการเขียนจดหมายโดยทั่ว ๆ ไป ควร ข้อความที่สุภาพ เพราะการติดต่อกันในครั้งแรกนั้น ถือว่าสาคัญ เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจ แก่กัน
2. เนื้อหาในตัวจดหมายต้องเป็นข้อความที่สุภาพเรียบร้อย ไม่พาดพิงเพื่อให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ส่งต้องรับผิดชอบในเนื้อหาเหล่านั้น เพราะสามารถเผยแพร่ไปยังบุคคลอื่นๆ ได้
3. งดการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในการเขียนตลอดประโยค (ในกรณีภาษาอังกฤษเพราะมันแสดงถึงการที่คุณกาลังตะโกนใส่เขา
4. ไม่ควรส่งจดหมายขยะ (Junk Mail) หรือจดหมายลูกโซ่แก่บุคคลอื่น เพราะจะสร้างความราคาญให้แก่ผู้รับ และในบางครั้งเมล์เหล่านั้นอาจมีไวรัสปะปนไปด้วย
5. เมื่อต้องการแนบไฟล์หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบไปพร้อมกันเมล์ ควรย่อไฟล์ก่อนส่งไปพร้อมจดหมาย เพราะไฟล์ที่จะส่งไปพร้อมกับจดหมาย (attachment) ขนาดโตๆ จะทาให้ผู้รับปลายทางต้องรอดาวน์โหลดข้อมูล การที่เราส่งไฟล์ก้อนโตๆ ไปให้เขานั้น เท่ากับเป็นการปิดกั้นเมลล์อื่นๆ ที่จะถูกคนอื่น ๆ ส่งไปหาเขา เพราะถ้าตู้เก็บจดหมายของเขาเต็ม เขาก็ไม่สามารถรับอีเมล์ฉบับอื่นๆ ได้อีก

โทรสาร หรือ โทรภาพ (อังกฤษfacsimile, fax แฟกซ์)

 คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopier ในอุตสาหกรรมบางประเภท การส่งสำเนาเอกสารจากระยะไกลไปยังบุคคลหนึ่ง ข้อดีคือรวดเร็วกว่าการส่งทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียคือเอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป ปัจจุบันโทรสารได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากนิยมส่งเอกสารทางอีเมลแทน ซึ่งจะไม่เกิดข้อเสียดังกล่าว
facsimile มาจากภาษาละติน fac simile แปลว่า การทำให้เหมือนกัน หรือการทำสำเนา บางครั้งในภาษาอังกฤษมีการใช้คำว่า telefacimileหรือ telefax หมายถึง การทำสำเนาระยะไกล
พจนานุกรมคำใหม่ของราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้สามารถเขียนทับศัพท์คำว่า "fax" เป็นภาษาไทยได้ทั้ง "แฟกซ์" ตามความนิยม และ "แฝ็กซ์" ตามเสียงอ่าน

Voice mail

คือระบบการรับฝากข้อความเสียงของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ เมื่อผู้โทรเข้าไม่สามาถติดต่อปลายทางได้ ก็สามารถฝากเสียงพูดของตนลงในระบบ แล้วระบบจะได้แจ้งให้หมายเลขปลายทางทราบต่อไปว่ามีผู้ที่ติดต่อเข้ามาแล้วได้ฝากข้อความเสียงไว้ และสามารถเข้าไปฟังข้อความเสียงดังกล่าวได้

การประชุมทางไกล (Videoconferencing) 
เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลาลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน
ความหมาย
การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์และ
ระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง
สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพเสียงและข้อความ กราฟิก
ต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆเพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อ
สนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ
ความสำคัญ 
Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อ
กันได้ทั้งภาพและเสียงโดยผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของตัวเองและภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพ
ของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบ
ประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์
ลำโพงไมโครโฟนกล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้า
รหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน
ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัส
สัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือสามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง
การติดตั้งระบบ Video Conference
ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้
มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ 
share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน
เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ 
Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้นงานประชุมหรืองานการเรียน
การสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากร
ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Groupware คือ ซอฟแวร์ที่สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มของคนที่มีการทำงานคล้ายกัน หรือมีเป้าหมาย
และความร่วมมือเดียวกันค่ะ  เป็นซอร์ฟแวร์แห่งความร่วมมือที่ช่วยให้ทีมและกลุ่มทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายในการ
ติดต่อสื่อสารและ
Shareข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานร่วมกัน


Electronic Fund Transfer
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT) จะฝากเงินรายได้จาก AdSense ไว้ในบัญชีธนาคารของคุณในสกุลเงิน
ท้องถิ่นโดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วและทำให้กระบวนการชำระเงินง่ายยิ่งขึ้น 
EFT มีให้บริการสำหรับผู้เผยแพร่โฆษณาที่มีที่อยู่การชำระเงินใน ประเทศที่สนับสนุนของเรา หาก EFT มีให้บริการในพื้นที่ของคุณ เราขอแนะนำให้คุณลงชื่อสมัคร
ใช้ 
EFT นั้นรวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นวิธีการชำระเงินที่ Google แนะนำอีกด้วย เรากำลังเร่งขยายพื้นที่ให้บริการ EFT ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ หากต้องการลงชื่อสมัครใช้การชำระเงินด้วย EFT คุณจำเป็นต้องระบุ
รายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคารและยืนยันบัญชีของคุณโดยใช้เงินฝากทดสอบจำนวนเล็กน้อย

Electronic Data Interchange
 เทคโนโลยียุคดิจิตอลก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง การทำธุรกิจในปัจจุบันจึงมีความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัว
มากขึ้น โดยมีการนำระบบ 
EDI หรือ Electronic Data Interchange มาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ในรูปของเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน องค์กร และบริษัทธุรกิจต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ
ค่ะ
การจัดทำเอกสารในขั้นแรกของระบบ EDI จะดำเนินไปโดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่มีแรงงานคนเข้ามาเกี่ยว
ข้อง ต่อจากนั้นคอมพิวเตอร์จะส่งเอกสารดังกล่าวไปบันทึกเก็บไว้ในตู้ไปรษณีย์ของบริษัทผู้ให้บริการ 
EDI เพื่อให้บริษัทหรือหน่วยงานเป้าหมายมาเปิดตู้นำเอกสารไปดำเนินการต่อโดยอัตโนมัติ และเมื่อเอกสารเดินทางมาถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทเป้าหมายแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำเอกสารนั้นมาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องทันทีโดยอัตโนมัติเช่นกันค่ะ
นอกจากนี้ระบบ EDI ยังถูกนำไปใช้กับโครงการโทรคมนาคมของประเทศต่างๆ เพื่อเป็น หลักฐานและข้อมูลสำหรับใช้
ในการขนส่งสินค้าและบันทึกข้อมูลการเดินทางของนักท่องเที่ยวด้วยค่ะ

RFID (Radio Frequency Identification)
ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless)
ะบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) 
และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง "Identity" กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น